วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระคัมภร์ธาตุวิภังค์

กล่าวถึง สาเหตุการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล และอาการที่เกิดขึ้น เมื่อธาตุที่ ๔ พิการ ได้แก่ ธาตูทั้ง ๔ ขาดเหลือ ธาตุทั้ง๔ พิการตามฤดู และยารักษา และธาตุทั้ง ๔ พิการ และยารักษา   มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สาเหตุการเสียชีวิตของบุคคล
      ๑.     บุคคลตามด้วย ปัจจุบันกรรมและปัจจุบันโรค  คือ โอปักกะมิกาพาธ ถูกทุบถองโบยตีบอบช้ำ หรือต้องราช อาญาของพระมหากษัตริย์ ให้ประหารชีวิต การตายดดยปัจจุบันนี้ มิได้ตายเป็นปกติ โดยลำดับ ขันธ์ชวร และธาตุทั้ง ๔ มิได้ ล่วงไปโดยลำดับ อย่างนี้เรียกว่า " ตายโดยปัจจุบันกรรม"
       ส่วนปัจจุบันโรค คือเกิดโรคตายโดยปัจจุบันทันด่วน เช่น อหิวาตกโรค หรือโรคอันเป็นพิษ ซึ่งกำเริบขึ้นโดยเร็ว แล้วตาย ไป ธาตุทั้ง ๔ มิได้ขาดไป ตามลำดับอย่างนี้ เรียกว่า ตายด้วยปัจจุบันโรค

      ๒.     บุคคลตายด้วย โบราณกรรม และโบราณโรค   คุลลลตายโดยโบราณกรรม คือ ตายโดยกำหนดสิ้นอายุ เป็นปริโยสาน คือายุย่างเข้าสู่ความชรา ธาตุทั้ง ๔ ขาดไปตามลำดับ เปรียบเหมือนผลไม้ เมื่อแก่สุกงอมเต็มที่แล้ว ก็หล่นลงเอง คนเราเมื่ออายุมากแล้ว ธาตุทั้ง ๔ ก็ทรุดโทรม ไปตามลำดับ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ก็ตาย อย่างนี้เรียกว่า ตายโดยโบราณกรรม
      ส่วนการตายด้วยโบราณโรคนั้น คือ เป็นโรคคร่ำคร่า เรื้อรังมานาน หลายเดือนหลายปี เรียกว่า โบราณโรค เวลาจะตาย ธาตุทั้ง ๔ ขาดไปตามลำดับ แล้วตายไป อย่างนี้เรียกว่า ตายด้วยโบราณโรค

ว่าด้วยธาตุทั้ง ๔ ขาดเหลือ
       บุคคลใดตายโดยสิ้นกำหนดอายุเป็นปริโยสานนั้น ธาตุทั้ง ๔ ย่อมขาดสูญไปตามลำดับ แต่เมื่อจะสิ้นอายุ แต่ละธาตุ ขาเหลือ ดังนี้
๑.    ปถวีธาตุ ๒๐ ขาดไป ๑๙ หทยัง( หัวใจ) ยังอยู่
๒.    อาโปธาตุ ๑๒ ขาดไป ๑๑ ปิตตัง ( น้ำดี) ยังอยู่
๓.    วาโยธาตุ ๔ ขาดไป ๓ สันตัปปัคคี ( ไฟอุ่นกาย) ยังอยู่
๔.    เตโชธาตุ ๔ ขาดไป ๓ สันตัปปัคคี ( ไฟอุ่นกาย) ยังอยู่

  • ถ้าธาตุ ทั้งหลาย สูญสิ้นพร้อมกันดังกล่าวนี้ ท่านว่า เยียวยาไม่หาย หากขาดหรือหย่อนไปแต่ละสิ่ง สองสิ่ง ยังพอ พยาลาลได้
ว่าด้วยธาตุทั้ง ๔ พิการตามฤดู
      ตามปกติ ปี ๑ มี ๓ ฤดูๆ ละ ๔ เดือน แต่ในคัมภีร์ธาตุวิภังคื จัดฤดูไว้ ๔ ฤดูๆละ ๓ เดือน คือ
      ๑.   เดือน ๕,๖ และ ๗   ทั้ง ๓ เดือนนี้ว่าด้วยเตโชธาตุ ชื่อสันตัปปัคคีพิการ   อาการให้เย็นในอก วิงเวียน รับประทานอาหารไม่ได้ บริโภคอาหารอิ่มมัก ให้จุกเสียด ขัดในอก อาหารมักพลันแหลก มิได้อยู่ท้อง ให้อยากบ่อยๆ จังเป็น เหคุให้เกิดลม ๖ จำพวก คือ
       ๑.๑   ลมชื่อ อุทรันตะวาตะ   พัดแต่สะดือถึงลำคอ
       ๑.๒  ลมชื่อ อุระปักขะรันตะวาตะ  พัดให้ขัดแต่อก ถึงลำคอ
       ๑.๓  ลมชื่อ อัสสาสะวาตะ   พัดให้นาสิกตึง
       ๑.๔  ลมชื่อ ปัสสาสะวาตะ   พัดให้หายใจขัดอก
       ๑.๕  ลมชื่อ อนุวาตะ  พัดให้หายใจขัด ให้ลมจับแน่นิ่งไป
       ๑.๖  ลมชื่อ มหสกะวาตะ   คือลมมหาสดมภ์ ให้หาวนอนมาก และหวั่นไหวหัวใจ ให้นอนแน่นิ่งไป มิรู้สึกกาย
       ๒    เดือน ๘,๙ และ ๑๐ ทั้ง๓ เดือนนี้ว่าด้วย วาโยธาตุ ชื่อ ชิรณัคคีพิการ อาการให้ผอมเหลือง ให้เมื่อยขบทุกข้อ ทุกลำตัว ทั่วสรรพางค์กาย ให้แดกขึ้นแดกลง ให้ลั่นโครกๆ ให้หาวเรอ วิงเวียนหน้าตา หูหนัก มักให้ร้อนในอก ในใจ ให้ ระทดระทวย ให้หายใจสั้น ให้เหม็นปาก และหวานปาก มักให้โลหิตออกทางจมูก ทางปาก กินอาหารไม่รู้รส
       ๓.   เดือน ๑๑,๑๒ และ ๑ ทั้ง ๓ เดือนนี้ อาหารที่กินมักผิดสำแดง อาโปธาตุพิการ คือ
            ๓.๑   ดีพิการ  มักให้ขึ้งโกรธ สะดุงตกใจ หวาดกลัว
            ๓.๒   เสมหะพิการ  ให้กินอาหารไม่รู้รส
            ๓.๓   หนองพิการ  มักให้ไอเป็นโลหิต
            ๓.๔   โลหิตพิการ  มักให้เพ้อพก ให้ร้อน  
            ๓.๕   เหงื่อพิการ  มักให้ซูบผอม ให้ผิวหนังสากชา
            ๓.๖    มันข้นพิการ  มักให้ปวดศีรษะ ให้ปวดตา ให้ขาสั่น
            ๓.๗   น้ำตาพิการ  มักให้ตามัว น้ำตาตก ตาแห้ง ดวงตาเป็นดังเยื่อลำใย
            ๓.๘   มันเหลวพิการ  ให้แล่นออกทั่วกาย ให้นัยน์ตาเหลือง มูตรและคูถเหลือง บางทีให้ลงและอาเจียน กลาย เป็นป่วงลม
            ๓.๙   น้ำลายพิการ  ให้ปากเปื่อยคอเปื่อย บางทีให้เป็นยอดเป็นเม็ดขึ้นในคอ บางทีเป็นไข้ ให้ปากแห้ง คอแห้ง
            ๓.๑๐  น้ำมูกพิการ  ให้ปวดศีรษะ เป็นหวัด ให้ปวดสมอง น้ำมูกตก นัยนตามัว วิงเวียนศีรษะ
            ๓.๑๑  ไขข้อพิการ  ให้เมื่อยทุกข้อ ทุกกระดูก ให้ขัดให้ตึงทุกข้อ
            ๓.๑๒  มูตรพิการ  ใหปัสสาวะแดง และขัดปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นโลหิต เจ็บปวดเป็นกำลัง

       ๔.   เดือน ๒,๓ และ ๔ ทั้ง ๓ เดือนนี้ นอนผิดเวลา ปถวีธาตุพิการ อาการแต่ละอย่าง มีดังนี้
            ๔.๑   ผมพิการ  ให้เจ็บรากผม ให้คันศีรษะ ผมหงอก ผมเป็นรังแค เจ็บหนังศีรษะ
            ๔.๒   ขนพิการ  ให้เจ็บทั่วสรรพางค์กาย ทุกเส้นขน ให้ขนลุกขนพองทั้งตัว
            ๔.๓   เล็บพิการ  ให้เจ็บต้นเล็บ เล็บเขียวช้ำดำ เจ็บเสียวหลายนิ้วมือ นิ้วทือ
            ๔.๔   ฟันพิการ  ให้เจ็บไรฟัน  ให้ฟันหลุด ฟันโยกคลอน
            ๔.๕   หนังพิการ  ให้ร้อนผิวหนังทั่วกาย บางทีให้เป็นผื่นขึ้นทั้งตัว ดุจหัวผด ให้ปวดแสบ ปวดร้อน
            ๔.๖   เนื้อพิการ   ให้นอนสะดุ้ง ไม่สมปฤดี มักให้ฟกบวม บางทีผุดขึ้นเป้นสีเขียว สีแดง ทั่วทั้งตัว บางทีเป็น ลมพิษ สมมุติเรียกว่า ประดง*
            ๔.๗   เอ็นพิการ  ให้จับสะบัดร้อน สะท้านหนาว ให้ปวดศีรษะมาก เรียกว่า อัมพฤกษ์กำเริบ
            ๔.๘   กระดูกพิการ  ให้เมื่อยในข้อในกระดูก
            ๔.๙   เยื่อในกระดูกพิการ  ให้ปวดตามแท่งกระดูกเป็นกำลัง
            ๔.๑๐  ม้ามพิการ  ให้ม้ามหย่อน มักเป้นป้าง
            ๔.๑๑  หัวใจพิการ  ให้คลั่งไคล้ดุจเป็นบ้า ถ้ามิดังนั้น ให้หิวโหย หาแรงมิได้ ให้ทุรนทุรายยิ่งนัก
            ๔.๑๒  ตับพิการ  ให้ตับโต ตับทรุดเป็นฝีในตับ กาฬขึ้นในตับ
            ๔.๑๓  พังผืดพิการ  ให้เจ็บให้จุกเสียด ให้อาเจียน ให้แดกขึ้นแดกลง
            ๔.๑๔  ไตพิการ  ให้ปวดท้อง แดกขึ้นแดกลง ปวดขัดเป็นกำลัง
            ๔.๑๕  ปอดพิการ  ให้เจ็บปอด ให้ปอดเป็นพิษ ให้กระหายน้ำมาก กินน้ำจนปอดลอย จึงหายอยาก
            ๔.๑๖  ลำไส้น้อยพิการ  ให้สะอึก ให้หาว ให้เรอ
            ๔.๑๗  ลำไส้ใหญ่พิการ  ให้ผะอืดผะอม ให้ท้องขึ้นท้องพอง มีกเป็นท้องมาน ลมกระษัย บางทีให้ลงท้องตก มูก  ตกเลือดเป็นไปต่างๆ
            ๔.๑๘  อาหารใหม่พิการ  ให้ลงแดง ให้ราก มักเป็นป่วง ๘ จำพวก
            ๔.๑๙  อาการเก่าพิการ  ให้กินอาหารไม่มีรส  เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคต่างๆ เพราะอาหารผิดสำแดง
            ๔.๒๐  มันสมองพิการ  ปกติสมองศีรษะพร่องจากกระบาลศีรษะ ประมาณเส้นตอกใหญ่ๆ ถ้าเจ็บปวดพิการ มันในสมองก็เดือดขึ้นเต็มกระบาลศีรษะ ให้ปวดเป็นกำลัง นัยน์ตาแดงคลั่ง เรียกว่า สันนิบาต ให้สุมยา รสสุขุม มันสมอง จึงจะยุบ และหายปวด
ยาแก้ เตโชธาตุ ชื่อ กาลาธิจร   
ประกอบด้วย     โกฏสอ  โกฏพุงปลา  ดีปลี  หัวแห้วหมู  เปลือกโมกมัน  ผลผักชี   อบเชย  สะค้าน  ขิง  ผลเอ็น  อำพัน
ยาทั้งนี้เอาส่วนเท่ากัน บดเป็นผง ละลายน้ำร้อน หรือน้ำผึ้งก็ได้ กินแก้เตโชธาตุพิการ
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น