วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สามฤดู

ไข้สามฤดูเป็นไข้ที่คนสมัยเก่าเรียกกัน และยังเรียกกันมาทุกวันนี้
ในปีหนึ่งๆ การเปลี่ยนฤดูจากฤดูหนึ่งไปอีกฤดูหนึ่ง ท่านเคยสังเกตไหมว่า มักจะทำให้คนไม่สบาย เกิดการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ

หมอโบราณพยากรณ์สมุฏฐานว่า คือ ร่างกายที่มีอุณหภูมิเคยชินกับอากาศในฤดูนั้นอยู่ เมื่อเปลี่ยนจากฤดูนี้ไปสู่อีกฤดูหนึ่ง อุณหภูมิที่เคยชินกับร่างกายเปลี่ยนแปลงไปไม่ทันกัน จึงมีการเจ็บป่วย (ผิดอากาศ) บ้างก็เรียกว่าไข้หัวลม

ไข้สามฤดู ก็คือ จะไม่สบาย เจ็บป่วยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อกับฤดูดังนี้
ฤดูร้อนย่างต่อเข้าฤดูฝน
ฤดูฝนย่างต่อเข้าฤดูหนาว
และฤดูหนาวย่างต่อเข้าฤดูร้อน

คนมักจะเจ็บป่วยไม่สบายเพราะร่างกายเคยชินต่ออากาศเปลี่ยนแปลงไม่ทันกับอากาศฤดูนั้นๆ
คนไข้ที่ว่าจะมีอาการ ปวดเมื่อยเป็นไข้ตัวร้อน นอนละเมออาจเพ้อฝันร้าย เป็นหวัด ไอ หมดเรี่ยวแรงเจ็บในปาก มือเท้าเย็น มีน้ำลายมาก ให้กระหายน้ำ อาจปวดข้อมือข้อเท้า สะท้านร้อนสะท้านหนาว เบื่อหน่ายการงาน บางทีเป็นฝีพุพอง เป็นต้น

หมอสมัยโบราณมักแนะนำให้คนไข้กินผักที่เป็นยาเป็นอาหาร เช่น ให้กินยอดแคต้ม จิ้มน้ำพริกกิน เป็นอาหาร เป็นยาแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ และแก้ไข้หัวลมได้

ยาโบราณหาได้ง่ายและไม่เป็นอันตราย เพราะเปลี่ยนอากาศหรือไข้สามฤดูย่อมเป็นได้อยู่ทุกฤดูกาล เป็นไข้ธรรมดา ถ้าไม่มีโรคอื่นมาแทรก

ยาธรรมชาติจะช่วยอาการไข้นี้ได้ และเป็นยาที่หาได้ง่ายตามพื้นบ้านและหาทำกินเองก็ได้
โรคไข้โบราณดังกล่าวนี้ ยาโบราณยังใช้ได้ดีอยู่ เราจะสังเกตดูได้ เช่น คนร้อนในกระหายน้ำ ปากเจ็บแตกออกหัดสุกใส ยาเขียวโบราณยังใช้ได้และขายดี

ตำรับยาที่สามารถทำขึ้นกินเองแก้ไข้สามฤดู คือ
ยาผง โกศสอ โกศเขมา โกศจุฬาลัมพา แก่นจันทน์เทศ แก่นจันทน์แดง ลูกกระดอม บอระเพ็ด รากปลาไหลเผือก สิ่งละน้ำหนักเท่ากัน
วิธีทำ บดเป็นผง
วิธีใช้ ผู้ใหญ่กินมื้อละ 1 ช้อนชา เด็กกินมื้อละ ครึ่งช้อนชา วันละ 3 เวลาก่อนอาหาร

ยาต้ม
ต้นขี้เหล็กทั้ง 5 (ต้น ใบ ดอก ราก ลูก (ฝัก)) ฝาง แกแล แก่นขนุน แก่นไม้สัก แก่นไม้ประดู่ ต้นขลู่ จันทน์แดง จันทน์ขาว บอระเพ็ด เกสรทั้ง 5 (ดอกพิกุล ดอกบุนนาก ดอกสารภี ดอกมะลิ และเกสรบัวหลวง) หนักสิ่งละ 1 บาท
ใบมะกา 1 กำมือ ก้านสะเดา 33 ก้าน
วิธีทำ ต้ม
วิธีใช้ ผู้ใหญ่กินมือละ 2-3 ช้อนโต๊ะ เด็กกินมือละ 2 ช้อนกาแฟถึง 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 เวลาก่อนอาหาร

โทสันทฯ

โรคโทสันทฆาต เป็นโรคที่เรียกชื่อกันตามภาษาชาวบ้านและวงการหมอโบราณแต่กาลก่อน ผู้เขียนได้เขียนอาการและยารักษาแบบโบราณ ให้ผู้ที่สนใจติดตามเรื่องของหมอโบราณในหนังสือ "หมอชาวบ้าน" เพื่อการรักษาตนเองและการสาธารณสุขมูลฐานซึ่งให้ความรู้หลายอย่างที่น่าสนใจ

ประการหนึ่ง
ของโรค "โทสันทฆาต" ย่อมบังเกิดได้ทั้งชายและหญิง ท่านว่าสตรีประจำเดือนไม่มาตามปกติ คือ ประจำเดือนขาดหายไปเป็นเดือนๆ แล้วมีอาการเจ็บปวดหลัง 14-15 วัน แล้วก็มีอาการเป็นลมในท้อง จุกแน่นหน้าอกดุจขาดใจ ยิ่งกินยาโบราณที่มีรสเผ็ดร้อนลงไปยิ่งทำให้มีอาการมากขึ้นอีก และทำให้ประจำเดือนตกออกมาเป็นล่มเป็นก้อน มีเลือดตกออกมาทางทวารหนัก ทวารเบา บางทีก็เป็นดังน้ำหมากจางๆ บางทีเป็นน้ำขาวดังดินสอพอง

อาการดังนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้าชาย ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อแรกบังเกิดโรคดังนี้ ย่อมเป็นไข้พิการต่างๆ คือตกต้นไม้ และล้มลงถูกกระทบกระแทกขัดขวางอย่างแรงหรือเรียกว่าโรคพิฆาตถูกทุบถองโบยตี ซึ่งเป็นสาหัสฟกช้ำในอกใจ โลหิตช้ำใน ย่อมให้เจ็บร้อนในอก เสียดแทงเจ็บสันหลังก็มี มีอาการให้กระทำโทษต่างๆ ภายใน ในการฟกช้ำอาจเกิดเป็นเม็ดและช้ำภายใน โลหิตไม่กระจายออก ทำให้เส้นต่างๆ อักเสบ กระดูกสันหลังได้รับความกระทบกระเทือน

หมอโบราณบางทีก็เรียกว่า "อาสันทฆาต" เหตุว่าเกิดเพราะไข้พิฆาตบอบช้ำ และโรคนี้ถ้าหมอให้การรักษาไม่ถูกต้องก็อาจตายได้ และโรคนี้รักษาไม่หาย นานเข้าหมอก็เรียกว่า "ตรีสันทฆาต" เพราะความชอกช้ำที่ได้รับแต่ครั้งแรก มักจะทำให้เกิดเป็นเม็ดขึ้นในดี, ตับ, หัวใจ และลำไส้ โบราณเรียกว่า "เม็ดกาฬ" จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอุจจาระเป็นโลหิต คลั่งเพ้อจุกเสียด ท้องขึ้นพองเหมือนท้องมาน ถ้าอาการเป็นเช่นนี้แล้ว หมอโบราณว่าหมดทางรักษา

ถ้ารู้ตัวว่าเป็นโรคโทสันทฆาตก็ต้องรับรักษาเสียเมื่อมีอาการเริ่มเป็นอย่างทิ้งไว้นาน โบราณถือว่าการกระทบกระแทกฟกช้ำอย่างแรง เลือดที่ช้ำไม่กระจายจะเป็นโทษแก่ร่างกาย หรือสตรีที่ประจำเดือนไม่มาก็เป็นโทสันทฆาตได้ แต่ที่ท่านไม่มีอาการดังกล่าวก็ไม่เป็นโรคโบราณดังกล่าวนี้ก็ได้ แต่ถ้าท่านมีอาการดังกล่าวขึ้นมาก็ควรรักษาและปรึกษาหมอก่อน เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง

ยารักษา
มีตัวยาดังนี้ เถาระค้าน ผักแพวแดง หัวดองดึง หัวว่านน้ำ มหาหิงคุ์ ยาดำ โกศจุฬาลัมภา โกศสอ โกศพุงปลา หัวอุตพิด ชะเอมเทศ ดอกดีปลี แก่นแสมทะเล หนักสิ่งละ 15 กรัม พริกไทยหนัก 195 กรัม

วิธีทำ

เอายารวมกันบดให้ละเอียด

วิธีใช้

ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานมื้อละ 2-3 เม็ดวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร แก้อาการและโรคโทสันทฆาตนั้นแล

คล้ายโรคติดเชื้อเอนทาโรไวรัส ๗๑

ตานขโมยเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ หลังจากคลอดแล้ว 3-4 เดือน มีเม็ดขึ้นที่เหงือกข้างบนและข้างล่าง มีสีดำแดง บางทีก็สีเหลือง ตัวลายเหมือนเส้นเลือด เจ็บทั่วสรรพางค์กาย เด็กขาดความต้านทานโรค เนื้อหนังเหี่ยวผอม ไม่น่ารัก ตัวมีกลิ่นเหม็นคาว พุงโร ก้นปอด ท้องเดินไม่รู้หยุด เป็นน้ำส่าเหล้าและเป็นน้ำคาวปลา น้ำไข่เน่า เป็นมูก เป็นหนองก็ดี อุจจาระหยาบเหม็นคาวอย่างร้ายกาจ ทำให้ตาฟางเรียกว่า เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
ปัจจุบันคงบอกว่าเป็นโรคขาดอาหาร แต่โรคตานขโมยในโบราณบอกว่า โรคตานขโมยนี้ขึ้นในตับ อุจจาระเป็นมูก เป็นโลหิต อกรวบแหลมเหมือนอกไก่ ขึ้นลำไส้อ่อนทำให้อุจจาระเขียวดังใบไม้ และหนังตามตัวจะเป็นเกล็ดเหมือนเกล็ดงู

ต้นเหตุของโรคตานขโมย เกิดจากเด็กเกิดมาแล้วกินอาหารแปลกรสที่ไม่เคยกิน ประกอบกับธาตุของเด็กอ่อนในการย่อยอาหารไม่ดี จึงทำให้เกิดโรคตานขโมยขึ้น และประกอบกับอาหารนั้นไม่สะอาด จึงทำให้เกิดตัวกิมิชาติ (พยาธิ) ขึ้นในท้องและลำไส้ คือตัวพยาธิไส้เดือนและพยาธิต่าง ๆ แย่งอาหารที่เด็กกินเข้าไปเสียหมด จึงทำให้เด็กท้องป่อง ก้นปอด อุจจาระหยาบเหม็นคาว เด็กสุขภาพไม่สมบูรณ์ ร้องงอแง ไม่น่ารัก จิตใจเด็กไม่แจ่มใส เป็นเด็กอมโรค ขี้มูกขี้กรัง เด็กชอบอมนิ้วมือและกัดเล็บ

ถ้าไม่พาเด็กไปหาหมอรักษาเด็กจะอมโรค ผอมลง ลักษณะหนังหุ้มกระดูก หัวท้ายเล็ก ตรงกลางท้องป่อง เด็กจะอ่อนแอลง อุจจาระหยาบขาว เหม็นคาวจุด แล้วนัยน์ตามัวมองอะไรไม่เห็น น่าสงสารมาก และเด็กจะตายในที่สุด โรคตานขโมยมีผู้ปากครองเด็กวิตกกันมากที่สุดในสมัยโบราณ จนถึงปัจจุบันนี้ มีพ่อแม่บางรายยังเสาะหายาโบราณมารักษาโรคตานขโมยกันอยู่ โรคนี้ในสมัยก่อน ๆ คร่าชีวิตเด็กไปเสียมิใช่น้อย ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีเหลืออยู่บ้างแต่ไม่มากแล้ว เพราะสังคมปัจจุบันนี้มีทั้งหมอแผนใหม่ และหมอแผนเก่าช่วยเหลือได้มาก

โรคนี้ต้นเหตุคือโรคพยาธิที่เกิดขึ้นในท้องกับธาตุเด็กเสีย อุจจาระบ่อย ๆ เนื่องจากกินอาหารไม่สมดุลกับร่างกาย และอาหารที่กินไม่สะอาดนั่นเอง ถ้ากินอาหารสะอาด หมั่นถ่ายพยาธิ ให้ยาบำรุงธาตุเด็ก เด็กคงไม่เป็นโรคนี้

โรคตานขโมย ถ้าเกิดขึ้นกับเด็กโบราณจะใช้ยาดังนี้ รากไข่เน่า รากทับทิม รากอีเหนียว รากสะแก ชุมเห็ดไทย ทั้งต้น กะเพราะแดงทั้งต้น รากเล็บมือนาง ลูกขี้กาแดง หัวแห้วหมู มะตูมอ่อน หัวเต่าเกียด หัวเต่านา หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ แก่นจันทร์ แก่นจันทร์แดง หนักสิ่งละ 30 กรัม ใบมะกา 1 กำมือ ใบกระพังโหม 1 กำมือ

วิธีทำ ต้ม เติมน้ำให้ท่วมยาต้มให้เดือด

เด็กโต
รับประทานมื้อละ 1-2 ช้อนโต๊ะ เด็กเล็ก 2 ช้อนกาแฟ รับประทานวันละ 3 เวลา ก่อนอาหารเช้าหรือเย็น

อาการตามัว หนังเป็นเกล็ด โบราณให้ใช้อาหารดังนี้ ใช้ตับไก่ดำหรือตับสัตว์ต่าง ๆ ก็ได้ปรุงเป็นอาหารใช้ตับสัตว์ดังกล่าวผสมกับดอกไม้จีนที่ทำอาหารผสมกัน ผัดให้รับประทานทุกวัน หรือใช้ ไข่ 1 ฟองและใช้ เม็ดในสะแกคือ แกะเอาแต่เมล็ดในประมาณ 30-40 เมล็ด ทอดกับไข่ให้เด็กกินทุกวัน จะช่วยอาการนี้ได้

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันแม่แห่งชาติ

แม่ผู้ซึ่งให้กำเนิดเรา แม่ผู้เป็นคนดูแลเราตั้งแต่เล็ก
แม่ผู้ซึ่งเปรียบเสมือนนางพยาบาลผู้ดูแลเรายามป่วยไข้
แม่ซึ้งเป็นเหมือนคุณครูคนแรกของเรา
มืออันแข็งแรงและอ่อนโยนที่เปี่ยมไปด้วยความรักและความห่วงใยซึ่งคอยพยุงเราที่ล้มลงให้ลุกขึ้นอย่างสง่างาม
สามารถดำรงชีวิตในวันต่อไปอย่างมั้นคง
แม่ยอมอดทนอุ้มท้องเรามากกว่า9เดือน เลี้ยงดูมากกว่าสิบปีด้วยความรักที่แม่มีให้ต่อลูกความหวังที่จะได้เห็นลูกเติบโตอย่างงดงามในวันข้างหน้า
ความผูกพันพันที่เกิดขึ้นมาต่อลูกที่เลี้ยงดูมากว่าสิบปี
แม่เป็นคนรักเรามากที่สุดแม้ว่าบางครั้งเราจะไม่รู้ว่าแม่รักเราแค่ไหนก็ตาม
ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปมานานนับสิบปี แต่แม่ก็ยังห่วงใยเรามาตลอดไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
แม้ว่าเราจะเลือกทางผิด แม้ว่าเราจะเปี่ยนแปลงไปมากแค่ไหนก็ตาม
แม้ว่าเราจะเป็นคนไม่ดีทำตัวก้าวร้าวต่อแม่แม่ก็ยังเป็นห่วงเราเพราะไม่ว่าอย่างไรเราก็ยังเป็นลูกของแม่
และแม่ก็ยังคงเป็นแต่ที่ห่วงใยเราเหมือนเดิมตลอดไป
                     ยามแก่เฒ่า    หวังเจ้า     เฝ้ารับใช้
                     ยามป่วยไข้    หวังเจ้า     เฝ้ารักษา
                     ยามถึงยาม    ต้องตาย     วายชีวา                                                                  
                     หวังลูกช่วย  ปิดตา        เมื่อสิ้นใจ
 
 
 
 

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

บัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
 
โดย นพท. สมชาย อ้นทอง (นายแพทย์แผนไทย สมชาย อ้นทอง)

นับเป็นข่าวดีของประชาชนชาวไทย เมื่อได้เห็นความตั้งใจในการผลักดัน ปรับปรุงแก้ไข ระบบบัญชียาจากสมุนไพรเพื่อให้ทันต่อสภาพของปัญหาสุขภาพ วิทยาการ และข้อมูลเกี่ยวกับยาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ทันสถานการณ์ ของคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และผู้เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง จนได้รับการประกาศใช้บัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๔๔ ใน ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ทำให้วันนี้คนไทยมียาแผนไทยสำหรับใช้ในสถานพยาบาลของรัฐ ที่ครอบคลุมขึ้นถึง ๗๑ รายการ ดังนี้ครับ

กลุ่มที่ ๑ ยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ ๕๐ รายการ

.๑ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม)

(๑) ยาหอมทิพโอสถ (๔) ยาหอมแก้ลมวิงเวียน

(๒) ยาหอมเทพจิตร (๕) ยาหอมอินทจักร

(๓) ยาหอมนวโกฐ

.๒ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร

.๒.๑ กลุ่มยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

(๑) ยาธาตุบรรจบ (๖) ยาประสะเจตพังคี

(๒) ยาธาตุอบเชย (๗) ยามันทธาตุ

(๓) ยาเบญจกูล (๘) ยามหาจักรใหญ่

(๔) ยาประสะกะเพรา (๙) ยาวิสัมพยาใหญ่

(๕) ยาประสะกานพลู (๑๐) ยาอภัยสาลี

.๒.๒ กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องผูก

(๑) ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง (๒) ยาธรณีสันฑะฆาต

.๒.๓ กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องเสีย

(๑) ยาธาตุบรรจบ (๒) ยาเหลืองปิดสมุทร

.๒.๔ กลุ่มยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก

(๑) ยาผสมเพชรสังฆาต (๒) ยาริดสีดวงมหากาฬ

.๓ ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

(๑) ยาประสะไพล (๔) ยาไฟห้ากอง

(๒) ยาปลูกไฟธาตุ (๕) ยาเลือดงาม

(๓) ยาไฟประลัยกัลป์ (๖) ยาสตรีหลังคลอด

.๔ ยาแก้ไข้

(๑) ยาเขียวหอม (๔) ยาประสะเปราะใหญ่

(๒) ยาจันทน์ลีลา (๕) ยามหานิลแท่งทอง

(๓) ยาประสะจันทน์แดง (๖) ยาห้าราก

.๕ ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ

(๑) ยาแก้ไอผสมกานพลู (๕) ยาตรีผลา

(๒) ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม (๖) ยาประสะมะแว้ง

(๓) ยาแก้ไอผสมมะนาวดอง (๗) ยาปราบชมพูทวีป

(๔) ยาแก้ไอพื้นบ้านอีสาน (๘) ยาอำมฤควาที

.๖ ยาบำรุงโลหิต

(๑) ยาบำรุงโลหิต

.๗ ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก

) ยาสำหรับรับประทาน

(๑) ยากษัยเส้น ยาลูกกลอน (๔) ยาผสมโคคลาน

(๒) ยาแก้ลมอัมพฤกษ์ (๕) ยาผสมเถาวัลย์เปรียง

(๓) ยาธรณีสันฑะฆาต (๖) ยาสหัศธารา

) ยาสำหรับใช้ภายนอก

(๑) ยาขี้ผึ้งไพล (๒) ยาประคบ ยาประคบสมุนไพร

.๘ ยาบำรุงธาตุ ปรับธาตุ

(๑) ยาตรีเกสรมาศ (๓) ยาเบญจกูล

(๒) ยาตรีพิกัด (๔) ยาปลูกไฟธาตุ

กลุ่มที่ ๒ ยาพัฒนาจากสมุนไพร ๒๑ รายการ

.๑ ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหาร

(๑) ยากล้วย (๔) ยาชุมเห็ดเทศ

(๒) ยาขมิ้นชัน (๕) ยาฟ้าทะลายโจร

(๓) ยาขิง (๖) ยามะขามแขก

.๒ ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ

(๑) ยาฟ้าทะลายโจร

.๓ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบผิวหนัง

(๑) ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง (๔) ยาเปลือกมังคุด

(๒) ยาทิงเจอร์พลู (๕) ยาพญายอ

(๓) ยาบัวบก

.๔ ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก

) ยาสำหรับรับประทาน

(๑) ยาเถาวัลย์เปรียง

) ยาสำหรับใช้ภายนอก

(๑) ยาพริก (๓) ยาน้ำมันไพล

(๒) ยาไพล

.๕ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะ

(๑) ยากระเจี๊ยบแดง (๒) ยาหญ้าหนวดแมว

.๖ ยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน

(๑) ยาบัวบก (๓) ยารางจืด

(๒) ยามะระขี้นก (๔) ยาหญ้าปักกิ่ง

.๗ ยาถอนพิษเบื่อเมา

(๑) ยารางจืด

.๘ ยาลดความอยากบุหรี่

(๑) ยาหญ้าดอกขาว

ตรีผลา ยาปรับสมดุลธาตุ

ตรีผลา เป็นพิกัดยาที่ตั้งขึ้นโดยการนำผลของสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ผลสมอไทย ผลสมอภิเภก และผลมะขามป้อม ในอัตราส่วน 1:1:1 มาจัดรวมกันเป็นพิกัดยา เนื่องจากตรีผลาจัดเป็นยาเย็นที่มีรสชาติถึง 5 รสได้แก่รสเปรี้ยว ฝาด ขม อมหวาน และเค็ม จึงสามารถ แก้ในทางปิตตะ วาตะ เสมหะ ในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน แพทย์แผนไทยจึงนิยมนำมาประกอบเป็นยารักษาโรคต่างๆและเป็นยาช่วยปรับสมดุลธาตุในช่วงฤดูร้อน
จากข้อมูลการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่า ตรีผลามี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 17 - 63 เปอร์เซ็นต์ จึงจัดเป็นยาอายุวัฒนะที่ดีมาก และจากผลการทดลอง ในสัตว์ทดลองด้วยอาหารเสริมตรีผลา พบว่า ในการ ให้ระยะสั้น ลดการเกิดเนื้องอก 77 เปอร์เซ็นต์ ส่วน การให้ในระยะยาวลดลง 66 เปอร์เซ็นต์ และ 62 เปอร์เซ็นต์ และตรีผลามีฤทธิ์มากกว่าสมุนไพรเดี่ยว แต่ละชนิด ซึ่งจะเห็นว่า คุณสมบัติตรีผลาที่มีคุณสมบัติป้องกันการเกิดเนื้องอกที่ดี


สมอภิเภก มีชื่ออื่น เรียกว่า สมอแหน แหน แหนต้น แหนขาว ลัน (เชียงราย) เป็นพันธุ์ไม้ผลัดใบ ผิวเปลือก ต้น แตกเป็นร่องเล็ก ๆ รอยถากมีสีเหลือง เป็นพืช ในป่าเบญจพรรณ ใช้ส่วนผลเป็นยา และเป็น ผลที่แก่เต็มที่ สารที่พบในสมอภิเภก คือ สารแทนนินสูง มีรสเปรี้ยวฝาดอมหวาน มี สรรพคุณตามตำรายาไทยแก้เสมหะ แก้ไข้ และแก้โรคริดสีดวงทวาร


สมอไทย มีประวัติการใช้ในสมัยพุทธกาล คือครั้นพระพุทธเจ้าประชวรหรือพระสงฆ์ อาพาธ ก็จะฉันผลสมอไทยเป็นยา หรือเรียกว่า พุทธโอสถ สรรพคุณตามตำรายาไทย สมอไทย มี รสเปรี้ยว ฝาด ขม แทรกด้วยรสเค็มช่วยกัดเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ แก้ท้องผูก แก้ไข บำรุงน้ำดี ช่วย ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง รส ฝาดช่วยสมานแผลแก้โรค กระเพาะอาหาร


มะขามป้อม สรรพคุณตามตำรา ยาไทย ผลแก่ รสเปรี้ยว ฝาดขม แก้ไข้ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอแก้หวัด ช่วยขับปัสสาวะ แก้เลือดออก- ตามไรฟัน รากต้มแก้ร้อนใน

สำหรับผู้ที่สนใจจะเตรียมสมุนไพรตรีผลาไว้รับประทานเอง สามารถเตรียมเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น เตรียมเป็นยาผง ชงเป็นชา หรือผสมน้ำผึ้งเป็นลูกกลอน หรือจะบรรจุเป็นแคปซูล รับประทานวันละ 1 - 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง ส่วนถ้าจะให้เข้ากับฤดูร้อนก็ต้มเป็นยาน้ำดื่ม เติมความหวานด้วยน้ำผึ้งก็จะได้สรรพคุณที่ดีครับ


บทความโดย พท.สมชาย อ้นทอง

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยประเภทของไข้

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยประเภทของไข้ต่างๆ


๑. ลักษณะของไข้ ซึ่งเมื่อเวลาจับและกำลังวัน จะบอกว่าไข้นั้นเป็นไข้ประเภทใด มี? ๓ สถาน คือ
๑.๑ ไข้เอกโทษ เริ่มจับเวลาย่ำรุ่งถึงบ่าย ๒ โมง แล้วไข้นั้นจะค่อยๆ คลายลง
๑.๒ ไข้ทุวันโทษ เริ่มจับเวลาย่ำรุ่งถึง ๒ ทุ่ม แล้วไข้นั้นจะค่อยๆ คลายลง
๑.๓ ไข้ตรีโทษ เริ่มจับเวลาย่ำรุ่งถึงตี ๒ แล้วต่อถึงรุ่งเช้าแล้วไข้นั้นจะค่อยๆ ส่างคลายลง
๒. ลักษณะของวันเวลาที่ไข้กำเริบ มี ๔ สถาน คือ
๒.๑ กำเดา กำเริบ ๔ วัน
๒.๒ เสมหะ กำเริบ ๙ วัน
๒.๓ โลหิต กำเริบ ๗ วัน
๒.๔ ลม กำเริบ ๑๓ วัน
๓. กำลังของธาตุกำเริบ มี ๔ สถาน คือ
๓.๑ ตติยะชวร คือ นับจากวันเริ่มไข้ไปจนถึง ๔ วัน
๓.๒ ตรุณชวร คือ นับจากวันที่ ๕ ไปถึงวันที่ ๗ รวม ๓ วัน
๓.๓ มัธยมชวร คือ นับจากวันที่ ๘ ไปถึงวันที่ ๑๕ รวม ๘ วัน
๓.๔ โบราณชวร คือ นับจากวันที่ ๑๖ ไปถึงวันที่ ๑๗ รวม ๒ วัน
ต่อไปจากนี้ ธาตุต่างๆได้พิการไปแล้วโดยไม่มีกำหนด วันเวลาว่านานเท่าไร ระยะนี้เราเรียกว่า จัตตุนันทชวร
๔. ลักษณะไข้ กล่าวไว้ว่าแสดงโทษ ดังต่อไปนี้
๔.๑ ไข้เอกโทษ มี ๓ สถาน คือ
๑) กำเดาสมุฏฐาน มีอาการจิตใจฟุ้งซ่าน ปวดหัว คลุ้มคลั่ง จิตหวั่นไหว ตัวร้อนจัด นัยน์ตาเหลือง แต่ปัสสาวะแดง อาเจียนมีสีเหลือง กระหายน้ำ ปากขม น้ำลายแห้ง ผิวแห้งแตกระแหง ผิวหน้าแดง ตัวเหลือง กลางคืนนอนไม่หลับ เวลาจับ จิตใจมักเคลิ้มหลงใหล น้ำตาไหล
๒) เสมหะสมุฏฐาน มีอาการหนาวมาก? ขนลุกชันทั่วตัว จุกในอก แสยงขน กินอาหารไม่ได้ ปากหวาน ฝ่ามือฝ่าเท้าขาว อุจจาระปัสสาวะก็ขาวด้วย อาเจียนและเบื่อ เหม็นอาหาร จับสะท้านหนาว
๓) โลหิตสมุฏฐาน (ไข้เพื่อโลหิต) มีอาการตัวร้อนจัด ปวดหัว กระหายน้ำ เจ็บตามเนื้อตามตัว ปัสสาวะเหลือง ผิวตัวแดง ฟันแห้ง ลิ้นคางแข็ง ปากแห้งน้ำลายเหนียว
๔.๒ ไข้ทุวันโทษ มี ๔ สถาน คือ
๑) ทุวันโทษ ลมและกำเดา มีอาการจับหนาวสะท้าน ตัวร้อนจัด กระหายน้ำ เหงื่อตก จิตใจระส่ำระสาย วิงเวียน ปวดหัวมาก
๒) ทุวันโทษ กำเดาและเสมหะ มีอาการหนาวสะท้าน แสยงขน จุกแน่นในอก หายใจขัดไม่สะดวก เหงื่อตก ปวดหัว ตัวร้อน
๓) ทุวันโทษ ลมและเสมหะ มีอาการหนาว ต่อมาจะรู้สึกร้อน (ร้อนๆ หนาวๆ) วิงเวียน เหงื่อไหล ปวดหัว นัยน์ตามัว ไม่ยอมกินอาหาร
๔) ทุวันโทษ กำเดาและโลหิต มีอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืน แต่พอหลับตามักจะเพ้อ ปวดหัวมาก จิตใจกระวนกระวาย ร้อนในกระหายน้ำ เบื่ออาหารไม่ยอมกิน
๔.๓ ไข้ตรีโทษ มี ๓ สถาน คือ
๑) ตรีโทษ เสมหะ กำเดาและลม มีอาการเจ็บตามข้อทั่วทั้งลำตัว ร้อนใน กระหายน้ำ จิตใจระส่ำระสาย เหงื่อไหลโทรมทั่วตัว ง่วงนอนมาก
๒) ตรีโทษ กำเดาโลหิตและลม มีอาการปวดเมื่อยทั้งตัว ปวดหัวมากที่สุด เกิดวิงเวียนหนักหัว หนาวสะท้าน ไม่ใคร่รู้สึกตัว เหม็นเบื่ออาหาร เชื่อมซึม ง่วงนอน
๓) ตรีโทษ โลหิตเสมหะและกำเดา มีอาการเร่าร้อน กระหายน้ำ กลางคืนหลับไม่สนิท จิตใจระส่ำระสาย เหงื่อตก หน้าเหลือง อาเจียนเป็นสีเหลืองมีโลหิต นัยน์ตาแดงจัด
อนึ่ง ถ้าหากกำเดา เสมหะ โลหิต และลม ๔ ประการนี้รวมกันให้โทษ ๔ อย่าง คือ ตัวแข็ง หายใจขัด ชักคางแข็ง ลิ้นแข็ง ท่านเรียกโทษนี้ว่า มรณชวร หรือตรีทูต
๕. กำเนิดไข้โดยรู้จากอาการของไข้นั้นๆ ที่แสดงให้เห็น เช่น
๕.๑ ไข้สันนิบาต คือ
๑) ไข้ใดให้มีอาการตัวร้อน กระหายน้ำ หมดแรง ปากแตกระแหง นัยน์ตาแดง เจ็บไปทั่วตัว ชอบอยู่ในที่เย็นๆ
๒) ไข้ใดให้มีอาการตัวเย็น ชอบนอน เบื่ออาหาร เจ็บในคอ และลูกตา นัยน์ตาแดงจัด เจ็บหูทั้งซ้ายขวา เจ็บปวดตามร่างกาย กระหายน้ำ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก คลื่นไส้อาเจียนเป็นสีเหลือง
๓) ไข้ใดให้มีอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาว ปวดหัว ปวดฟัน เจ็บในคอ ขัดหน้าอก กระหายน้ำมาก ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ปัสสาวะและอุจจาระไม่ใคร่ออก
๕.๒ ไข้สันนิบาตโลหิต คือ
ไข้ใดให้มีอาการเจ็บที่สะดือแล้วลามขึ้นไปข้างบน วิงเวียน หน้ามืด เจ็บที่ท้ายทอย(กำด้น) ขึ้นไปถึงกระหม่อม สะบัดร้อนสะบัดหนาว ท้องอืดแน่น อาการเช่นนี้ท่านว่า เป็นสันนิบาตโลหิต
๕.๓ ไข้สันนิบาตปะกัง คือ
ไข้ใดให้เห็นมีเม็ดสีแดงผุดทั่วตัว มีอาการปวดหัวเมื่อตอนพระอาทิตย์ขึ้น ไข้นี้เรียกว่าไข้สันนิบาตปะกัง
๕.๔ ไข้ตรีโทษ คือ
ไข้ใดเมื่อพิศดูรูปร่างแล้ว มีลายตามตัว มีอาการเพ้อละเมอไป ผู้อื่นพูดด้วยไม่ได้ยินเสียง(หูอื้อ) เรียกว่า ไข้ตรีโทษ
๕.๕ ไข้ที่เกิดจากลมและเสมหะระคนกัน คือ
ไข้ใดมีอาการหนาวสะท้าน เกียจคร้าน วิงเวียน ปวดหัว แสยงขน กระหายน้ำ เจ็บบริเวณเอว และท้องน้อย ในปากคอและน้ำลายแห้ง นอนหลับมักลืมตา ทั้งนี้เพราะลมและเสมหะระคนกัน
๕.๖ ไข้ที่เกิดจากเสมหะและดีระคนกัน คือ
ไข้ใดให้มีอาการหน้าแดง ผิวหน้าแห้ง กระหายน้ำ นอนไม่หลับ อาเจียน และปัสสาวะออกมามีสีเหลือง มักหมดสติไป ไข้นี้ท่านว่าเสมหะระคนกับดี
๕.๗ ไข้ที่เกิดจากลมและกำเดา คือ
ไข้ใดให้มีอาการท้องขึ้น วิงเวียน สะอึก และอาเจียน ไข้นี้เป็นโทษลมและเสมหะกระทำ
๕.๘ ไข้ที่เกิดจากเลือดลมและน้ำเหลือง คือ
ไข้ใดที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนแต่น้ำลาย ไข้นี้ท่านว่าเลือดลมและน้ำเหลืองเข้ามาระคนกัน
๕.๙ ไข้เพื่อดี คือ
ไข้ใดให้มีอาการขมในปาก เจ็บหัว นอนมาก และเจ็บตามตัว โทษนี้เกิดจากเป็นไข้เพื่อดี
๕.๑๐ ไข้เพื่อกำเดา คือ
ไข้ใดให้มีอาการปวดหัว อาเจียน นอนไม่หลับ กระหายน้ำ? เจ็บในปากและในคอ หรือไข้ใดให้มีอาการเจ็บนัยน์ตา หัวร้อนดังกระไอควันไฟท่านว่ากำเดาให้โทษ
๕.๑๑ ไข้เพื่อโลหิต คือ
ไข้ใดให้มีอาการเจ็บแต่ฝ่าเท้า และร้อนขึ้นไปทั่วตัวให้เร่งรักษาแต่ภายในกลางคืนนั้นอย่าให้ทันถึงรุ่งเช้าจะมีอันตราย มีอาการเจ็บมากที่หน้าผาก จิตใจกระวนกระวาย ท่านว่า เป็นไข้เพื่อโลหิต
๕.๑๒ ไข้เพื่อเสมหะ คือ
ไข้ใดให้มีอาการนอนฝัน เพ้อ น้ำลายมากในปาก มือ และเท้าเย็น อยากกินอาหารคาวหวาน มือและเท้ายกไม่ขึ้น สะบัดร้อนสะบัดหนาว โทษนี้เสมหะกระทำ
๕.๑๓ ไข้เพื่อลม คือ
๑) ไข้ใดให้มีอาการ ขมในปาก อยากกินแต่ของแสลง เนื้อสั่นระริก และเสียวทั้งตัว เจ็บไปทั้งตัว จุกเสียด หรือ
๒) ไข้ใดให้มีอาการหนาวสะท้าน บิดขี้เกียจ ยอกเสียดในอก ท่านว่าเป็นไข้เพื่อวาตะ(ลม)หรือ
๓) ไข้ใดให้มีอาการหนาวสะท้าน อาเจียน แสยงขน ปากหวาน เจ็บไปทั่วตัว อยากนอนตลอดเวลา เบื่ออาหาร หรือ
๔) ไข้ใดให้มีอาการสะอึก อาเจียน? และร้อนรุ่มกลุ้มใจ ท่านว่าเป็นไข้เพื่อลม
๕) ไข้ใดให้หมอดูร่างกายเศร้าดำไม่มีราศี ไอ กระหายน้ำ ฝาดปาก เจ็บอก หายใจขัด เพราะในท้องมีก้อนๆ ทั้งนี้เป็นไข้เพื่อลม
๕.๑๔ ไข้เพื่อกำเดา คือ
ไข้ใดให้มีอาการเจ็บตามผิวหนัง ปัสสาวะเหลือง ร้อนใน กระวนกระวาย ชอบอยู่ที่เย็น นัยน์ตาแดง ลงท้อง กระหายน้ำ ทั้งนี้เป็นไข้เพื่อกำเดา
๕.๑๕ ไข้สำประชวร คือ
ผู้ใดมีอาการเป็นไข้เรื้อรังมาเป็นเวลานานๆ รักษาไม่หาย ทำให้ร่างกายซูบผอมไม่มีแรง เบื่ออาหาร ไข้นี้จะเนื่องมาจากไข้เพื่อเสมหะ โลหิต ดี กำเดาหรือลม เป็นเหตุก็ตาม ให้แพทย์สังเกตดูที่นัยน์ตาของคนไข้จะรู้ได้ว่า คนไข้นั้นเป็นไข้เพื่ออะไร ซึ่งมี ๕ ประการด้วยกัน คือ
๑) ไข้เพื่อกำเดา มีอาการปวดหัวตัวร้อน สะท้านร้อนสะท้านหนาว ไม่มีน้ำตา ปากคอแห้ง กระหายน้ำ นัยน์ตาแดงดังโลหิต
๒) ไข้เพื่อโลหิต มีอาการปวดหัวตัวร้อน หน้าแดงนัยน์ตาแดง มีน้ำตาคลอ นัยน์ตาแดงดังโลหิต
๓) ไข้เพื่อเสมหะ มีอาการหนาว แสยงขน ขนลุกทั้งตัว หรือไม่ร้อนมาก นัยน์ตาเหลืองดังขมิ้น
๔) ไข้เพื่อดี มีอาการตัวร้อน เพ้อคลั่ง ปวดหัว กระหายน้ำ ขอบนัยน์ตาสีเขียวเป็นแว่น
๕) ไข้เพื่อลม มีอาการวิงเวียน หน้ามืด ตัวไม่ร้อน นัยน์ตาขุ่นคล้ำและมัว
อีกพวกหนึ่งนัยน์ตาไม่สู้แดงนัก(แดงเรื่อๆ) ถ้าเป็นกับชาย เกิดจากเส้นอัมพฤกษ์ ถ้าเป็นกับหญิง เกิดจากเส้นปัตคาด
๕.๑๖ ไข้เพื่อลมและเสมหะ คือ
ไข้ใดให้มีอาการปวดหัวมาก ไอ หาวนอน บิดตัวเกียจคร้าน เหงื่อไหล ทั้งนี้เป็นเพราะถูกลมเสมหะมาทับระคน
๕.๑๗ ไข้เพื่อเสมหะและกำเดา คือ
ไข้ใดให้มีการซึมมัว กระหายน้ำ ขมปาก ท้องร้อง เจ็บตามตัว เหงื่อไหล ไอ ตัวไม่ร้อน เป็นปกติ ทั้งนี้เป็นเพราะเสมหะและกำเดา
๕.๑๘ ไข้ตรีโทษ คือ
มีโทษ ๓ ประการ คือ เจ็บไปทั่วตัว นอนไม่หลับ และเบื่ออาหาร อาการ ๓ ประการนี้ จะเกิดขึ้นในขณะอยู่ในทุวันโทษ ซึ่งแพทย์พอรักษาได้
๕.๑๙ ไข้สันนิบาต คือ
ไข้ใดให้มีอาการไอแห้ง หอบมีเสมหะในคอ เล็บมือและเล็บเท้าเขียว นัยน์ตาสีเขียว มีกลิ่นตัวสาบดังกลิ่นสุนัข ,แพะ,แร้ง หรือนกกา โกรธง่าย เรียกว่าไข้สันนิบาต มักถึงที่ตาย
๕.๒๐ ลักษณะไข้แห่งปถวีธาตุ คือ
ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ ๑ ? ๒ วัน ให้มีอาการเชื่อมมัว หมดสติ ไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายยาก็ไม่ออก ไม่กินอาหาร แต่อาเจียนออกมาก ถ้าอาการเหล่านี้ยืนนานไปถึง ๑๐ ? ๑๑ วัน ท่านว่าตายเพราะเป็นลักษณะแห่งปถวีธาตุ
๕.๒๑ ลักษณะไข้แห่งวาโยธาตุ คือ
ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ ๓ ? ๔ วัน ให้มีอาการนอนสะดุ้ง หมดสติ เพ้อ เรอ อาเจียนแต่น้ำลาย มือและเท้าเย็น โรคนี้ตาย ๒ ส่วน ไม่ตาย ๑ ส่วน ทั้งนี้เป็นโทษแห่งวาโยธาตุ ถ้าแก้มือเท้าเย็นให้ร้อนไม่ได้ อาการจะทรงเรื้อรังไปถึง ๙ ? ๑๐ วัน จะตายอย่างแน่แท้
๕.๒๒ ลักษณะไข้แห่งอาโปธาตุ คือ
ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ ๔ วัน มีอาการท้องเดิน บางทีมีเสมหะ และโลหิตตามช่องทวารทั้งหนักและเบา บางทีอาเจียนเป็นโลหิต ไข้ใดเป็นดังนี้ เป็นเพราะอาโปธาตุบันดาลให้เป็นไป ถ้ารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นอยู่เป็นเวลา ๘ ? ๙ วัน ต้องตายแน่นอน
๕.๒๓ ลักษณะไข้แห่งเตโชธาตุ คือ
ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ ๓ ? ๔ วัน มีอาการร้อนไปทั้งตัว ทั้งภายนอก ภายในทุรนทุรายหัวใจสับสน ต้องใช้น้ำเช็ดตัวไว้เสมอ ลิ้นแห้ง คอแห้ง แห้งในอก กระหายน้ำ คลั่งไคล้ หมดสติไปให้เจ็บโน่นเจ็บนี่ทั่วร่างกาย คล้ายคนมีมารยา อยากกินของแสลง ดุจผีปอบ(ฉะมบปอบ) อยู่ภายใน โทษนี้คือโทษแห่งเตโชธาตุ ถ้าแก้ความร้อนไม่ตก และอาการยืนอยู่ต่อไป ๗ ? ๘ วัน ต้องตายแน่
ต่อไปนี้ขอให้แพทย์ให้จำไว้ให้แม่นยำว่า ไข้เอกโทษ ทุวันโทษ และไข้ตรีโทษนั้น ถ้ามีการทับสลับกัน ทำให้มีอาการผิดแปลกไปดังต่อไปนี้
๑) ลมเป็นเอกโทษ มักจะเกิดกับบุคคลอายุ ๕๐ ปีขึ้นไปในฤดูวัสสานฤดู เริ่มแต่หัวค่ำให้สะท้านร้อนสะท้านหนาว ปากคอ เพดานแห้ง เจ็บไปทุกเส้นเอ็นทั่วตัว (ปวดเมื่อย) เป็นพรรดึก นอนไม่หลับ จับแต่หัวค่ำ และจะค่อยๆ คลายลงภายใน ๔ นาที เรียกว่า เอกโทษลม
? ถ้าไข้นั้นไม่คลายไปจนถึงเที่ยงคืนก็จะเข้าเป็นทุวันโทษ เกิดเป็นเสมหะกับลม และถ้าไข้นั้นยังไม่คลาย จับต่อไปถึงย่ำรุ่งตลอดไปถึงเที่ยงคืน เรียกว่า ตรีโทษประชุมกันเป็นสันนิบาต
ท่านว่า ถ้าลมเป็นเอกโทษ พ้น ๗ วัน จึงวางยา ถ้าไม่ถึง ๗ วัน ไข้นั้นกำเริบ คือ ไข้ยังจับต่อไปอีก ให้แพทย์รีบวางยา
๒) ดีเป็นเอกโทษ มักเกิดกับบุคคลอายุ ๓๐ ? ๔๐ ปี ไข้จะเกิดในคิมหันตฤดู เริ่มแต่เที่ยงวัน มีอาการตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ กระวนกระวายใจ มึนซึม ในคอมีเสมหะ อุจจาระ ปัสสาวะมีสีเหลืองปนแดง เหงื่อไหล เรียกว่าเอกโทษดี จับแต่เที่ยงไป ๕ นาทีก็จะคลาย
ถ้าดีเป็นเอกโทษจับไข้ยังไม่คลาย จับไปจนถึงค่ำก็เข้าเป็นทุวันโทษ เกิดเป็นลมระคนดี
ถ้าไข้นั้นยังไม่คลายลงจนถึงเที่ยงคืน และจับต่อไปจนรุ่งเช้า ท่านว่าเป็นสันนิบาตตรีโทษให้รีบวางยา
ท่านว่าถ้าจับเอกโทษดี เริ่มจับแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป ๔ ? ๕ นาที ก็จะสร่างคลาย กำหนด ๙ วัน จึงวางยา
๓) เสมหะเอกโทษ มักเกิดกับบุคคลอายุ ๑๕ ปี ในเหมันตฤดูเริ่มจับแต่เช้าตรู่ตอนไก่ขัน มีอาการร้อนข้างนอกกาย แต่ภายในหนาว แสยงขน ไอ คอตีบตื้น กินอาหารไม่ลง เชื่อมมัว ปากหวาน นัยน์ตาขาว อุจจาระปัสสาวะขาว ไข้จับแต่เช้าตรู่ไป ๕ นาที เรียกว่า เสมหะเอกโทษ
ถ้าไข้ยังไม่สร่างคลายไปจนถึงเที่ยงวันจนถึงบ่าย ๕ นาที ดีจะมาระคนกับเสมหะ และถ้าไข้ยังจับต่อไปอีกจนถึงเย็นค่ำ และต่อไป เป็นสันนิบาตตรีโทษ
๑) ทุวันโทษเสมหะและดี เกิดกับบุคคลอายุอยู่ในปฐมวัย คือ ภายใน ๑๖ ปี เป็นไข้ในคิมหันตฤดู มีเสมหะเป็นต้นไข้ และดีเข้ามาระคนเป็น ๒ สถาน ทำให้มีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาว ในปากและคอเป็นเมือก กระหายน้ำ หอบ ไอ เชื่อมมัว ตัวหนัก ไข้เริ่มจับแต่เช้าตรู่ จะสร่างคลายตอนบ่ายโมง ๓ นาที
๒) ทุวันโทษดีและลม เกิดกับบุคคลอายุ ๓๐ ? ๔๐ ปี วสันตฤดู มีดีเป็นต้นไข้ เริ่มจับตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึง เย็นค่ำจึงจะสร่างคลาย มีอาการเชื่อมมัว ปวดเมื่อยตามข้อ หาว อาเจียน ปากและคอแห้ง ขนลุกขนพอง มักสะดุ้ง ตัวร้อน ทั้งนี้เป็นเพราะลมเข้าระคนเป็น ทุวันโทษ
๓) ทุวันโทษลมและเสมหะ เกิดกับบุคคลอายุ ๔๐ ? ๕๐ ปี เหมันตฤดู มีอาการหนักตัว ไอ ปวดหัว เมื่อยตามมือและเท้า มีลมเป็นต้นไข้ เริ่มจับแต่ตอนค่ำไปจนถึงรุ่งเช้าจะสร่างคลายลง มีอาการร้อนรนภายใน เหงื่อไม่มี ข้างนอกเย็น ทั้งนี้เป็นเพราะลมและเสมหะระคนกันเป็น ทุวันโทษ
ได้กล่าวถึงเอกโทษ และทุวันโทษแล้วตามลำดับมา ถ้าไข้นั้นยังมิสร่างคลายจับเรื่อยตลอดมาจะเป็นโทษ ๓ ระคนกันเข้าเป็นโทษสันนิบาต
สันนิบาตจะเกิดระหว่างฤดู ๓ หรือ ฤดู ๖ ให้กำหนดในตอนเช้าเป็นต้นไข้กำเริบเรื่อยไปจนถึงเย็นและเที่ยงคืน ท่านว่าไข้นั้นตกถึงสันนิบาต มีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาว เคืองนัยน์ตา น้ำตาไหล เจ็บปวดตามข้อและกระดูกไปจนถึงสมอง เหงื่อออกมาก นัยน์ตาเหลือง บางทีแดง นัยน์ตาถลนมองดูสิ่งใดไม่ชัด ดูดังคนบ้า หูปวดและตึง คันเพดาน หอบและหายใจสะอื้น ลิ้นปากเป็นเม็ดเน่าเหม็น ลิ้นบวมดำ เจ็บในอก หัวสั่น เวลาหลับตาแต่ใจไม่หลับ ลุกนั่งไม่ไหว พูดพึมพำ อุจจาระบางทีเขียว บางทีดำ กะปริดกะปรอย รอบๆ ข้อมือมีเส้นมีลายสีเขียว สีแดง ถ้าเส้นสีเขียวมีตามตัว ท้องขึ้นผะอืดผะอมมีลมในท้อง ท่านว่าธาตุไฟทั้ง ๔ นั้นดับสิ้นจากกาย
ถ้าผู้ใดป่วยเข้าขึ้นสันนิบาต มีอาการบวมที่ต้นหู จะตายใน ๗ วัน ถ้าบวมที่นัยน์ตาจะตายภายใน ๕ วัน ถ้าบวมที่ปากจะตายภายใน ๗ วัน
จงจำไว้ว่า ถ้าทุวันโทษลมและเสมหะ อันใดอันหนึ่งจะกล้าหรือจะหย่อน เราจะรู้ได้จากอาการคือ ถ้าลมกล้า จะมีอาการท้องผูกปวดเมื่อยตามข้อ ปวดหัว หมดแรง ถ้าเสมหะกล้าจะมีอาการเป็นหวัด ไอ ลุกนั่งไม่สะดวก หนักตัว ถ้าดีกล้าจะจับแต่เที่ยงไปถึงบ่าย และไข้จะค่อยคลายหายไป
ถ้ามีอาการเชื่อมมัว อาเจียน คลื่นไส้ แสดงว่าดีมีกำลังกล้า
ถ้ามีไข้แต่เช้ามืดถึง ๓ โมง เชื่อมมัว ตึงตามตัว ตัวหนัก จะนอนไม่ใคร่หลับสนิท ไอ คือ เสมหะให้โทษกล้ากว่าดี
ทุวันโทษดีและลม ถ้าลมกล้า จะมีอาการจับไข้แต่บ่าย ๓ โมง มีอาการเชื่อมมัว หาวเป็นคราวๆ นอนไม่หลับ จึงถึงเวลาพลบค่ำจึงสร่างคลาย คนไข้จะหลับสนิท
ถ้าดีมีกำลังกล้า จะเริ่มจับไข้แต่เที่ยงไป จะมีอาการซวนเซเมื่อลุกนั่งหรือยืน ตัวร้อน อาการนี้จะมีไปถึงบ่าย ๕ นาทีจะสร่างคลาย
สันนิบาตมี ๓ สถาน คือ ดีเสมหะและลม
ทุวันโทษดีและเสมหะ มีลมมาแทรกทำให้แรงขึ้น คือ ตั้งแต่บ่าย ๕ นาทีถึงสามยาม มีอาการเชื่อมมัว มึนตึงตามตัว หลับหรือตื่นไม่รู้สึกตัว มักนอนสะดุ้ง หูตึง ทั้งนี้เพราะลมมีกำลังกล้ามันจะพัดไปตามหู ตา และคอ
ถ้าเสมหะกล้า จะเริ่มจับแต่บ่าย ๕ นาที ไปจนถึงพลบค่ำต่อไปจนถึงสว่าง ๓ นาที เช้าอาการจะสร่างคลายลง อาการนั้นมีดังนี้คือ ลุกนั่งไม่สะดวก หอบบ่อยๆ คลื่นไส้ ถ่มน้ำลาย หนักตัว ตึงผิวหน้า ปากลิ้นเป็นเมือก