วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สามฤดู

ไข้สามฤดูเป็นไข้ที่คนสมัยเก่าเรียกกัน และยังเรียกกันมาทุกวันนี้
ในปีหนึ่งๆ การเปลี่ยนฤดูจากฤดูหนึ่งไปอีกฤดูหนึ่ง ท่านเคยสังเกตไหมว่า มักจะทำให้คนไม่สบาย เกิดการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ

หมอโบราณพยากรณ์สมุฏฐานว่า คือ ร่างกายที่มีอุณหภูมิเคยชินกับอากาศในฤดูนั้นอยู่ เมื่อเปลี่ยนจากฤดูนี้ไปสู่อีกฤดูหนึ่ง อุณหภูมิที่เคยชินกับร่างกายเปลี่ยนแปลงไปไม่ทันกัน จึงมีการเจ็บป่วย (ผิดอากาศ) บ้างก็เรียกว่าไข้หัวลม

ไข้สามฤดู ก็คือ จะไม่สบาย เจ็บป่วยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อกับฤดูดังนี้
ฤดูร้อนย่างต่อเข้าฤดูฝน
ฤดูฝนย่างต่อเข้าฤดูหนาว
และฤดูหนาวย่างต่อเข้าฤดูร้อน

คนมักจะเจ็บป่วยไม่สบายเพราะร่างกายเคยชินต่ออากาศเปลี่ยนแปลงไม่ทันกับอากาศฤดูนั้นๆ
คนไข้ที่ว่าจะมีอาการ ปวดเมื่อยเป็นไข้ตัวร้อน นอนละเมออาจเพ้อฝันร้าย เป็นหวัด ไอ หมดเรี่ยวแรงเจ็บในปาก มือเท้าเย็น มีน้ำลายมาก ให้กระหายน้ำ อาจปวดข้อมือข้อเท้า สะท้านร้อนสะท้านหนาว เบื่อหน่ายการงาน บางทีเป็นฝีพุพอง เป็นต้น

หมอสมัยโบราณมักแนะนำให้คนไข้กินผักที่เป็นยาเป็นอาหาร เช่น ให้กินยอดแคต้ม จิ้มน้ำพริกกิน เป็นอาหาร เป็นยาแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ และแก้ไข้หัวลมได้

ยาโบราณหาได้ง่ายและไม่เป็นอันตราย เพราะเปลี่ยนอากาศหรือไข้สามฤดูย่อมเป็นได้อยู่ทุกฤดูกาล เป็นไข้ธรรมดา ถ้าไม่มีโรคอื่นมาแทรก

ยาธรรมชาติจะช่วยอาการไข้นี้ได้ และเป็นยาที่หาได้ง่ายตามพื้นบ้านและหาทำกินเองก็ได้
โรคไข้โบราณดังกล่าวนี้ ยาโบราณยังใช้ได้ดีอยู่ เราจะสังเกตดูได้ เช่น คนร้อนในกระหายน้ำ ปากเจ็บแตกออกหัดสุกใส ยาเขียวโบราณยังใช้ได้และขายดี

ตำรับยาที่สามารถทำขึ้นกินเองแก้ไข้สามฤดู คือ
ยาผง โกศสอ โกศเขมา โกศจุฬาลัมพา แก่นจันทน์เทศ แก่นจันทน์แดง ลูกกระดอม บอระเพ็ด รากปลาไหลเผือก สิ่งละน้ำหนักเท่ากัน
วิธีทำ บดเป็นผง
วิธีใช้ ผู้ใหญ่กินมื้อละ 1 ช้อนชา เด็กกินมื้อละ ครึ่งช้อนชา วันละ 3 เวลาก่อนอาหาร

ยาต้ม
ต้นขี้เหล็กทั้ง 5 (ต้น ใบ ดอก ราก ลูก (ฝัก)) ฝาง แกแล แก่นขนุน แก่นไม้สัก แก่นไม้ประดู่ ต้นขลู่ จันทน์แดง จันทน์ขาว บอระเพ็ด เกสรทั้ง 5 (ดอกพิกุล ดอกบุนนาก ดอกสารภี ดอกมะลิ และเกสรบัวหลวง) หนักสิ่งละ 1 บาท
ใบมะกา 1 กำมือ ก้านสะเดา 33 ก้าน
วิธีทำ ต้ม
วิธีใช้ ผู้ใหญ่กินมือละ 2-3 ช้อนโต๊ะ เด็กกินมือละ 2 ช้อนกาแฟถึง 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 เวลาก่อนอาหาร

โทสันทฯ

โรคโทสันทฆาต เป็นโรคที่เรียกชื่อกันตามภาษาชาวบ้านและวงการหมอโบราณแต่กาลก่อน ผู้เขียนได้เขียนอาการและยารักษาแบบโบราณ ให้ผู้ที่สนใจติดตามเรื่องของหมอโบราณในหนังสือ "หมอชาวบ้าน" เพื่อการรักษาตนเองและการสาธารณสุขมูลฐานซึ่งให้ความรู้หลายอย่างที่น่าสนใจ

ประการหนึ่ง
ของโรค "โทสันทฆาต" ย่อมบังเกิดได้ทั้งชายและหญิง ท่านว่าสตรีประจำเดือนไม่มาตามปกติ คือ ประจำเดือนขาดหายไปเป็นเดือนๆ แล้วมีอาการเจ็บปวดหลัง 14-15 วัน แล้วก็มีอาการเป็นลมในท้อง จุกแน่นหน้าอกดุจขาดใจ ยิ่งกินยาโบราณที่มีรสเผ็ดร้อนลงไปยิ่งทำให้มีอาการมากขึ้นอีก และทำให้ประจำเดือนตกออกมาเป็นล่มเป็นก้อน มีเลือดตกออกมาทางทวารหนัก ทวารเบา บางทีก็เป็นดังน้ำหมากจางๆ บางทีเป็นน้ำขาวดังดินสอพอง

อาการดังนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้าชาย ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อแรกบังเกิดโรคดังนี้ ย่อมเป็นไข้พิการต่างๆ คือตกต้นไม้ และล้มลงถูกกระทบกระแทกขัดขวางอย่างแรงหรือเรียกว่าโรคพิฆาตถูกทุบถองโบยตี ซึ่งเป็นสาหัสฟกช้ำในอกใจ โลหิตช้ำใน ย่อมให้เจ็บร้อนในอก เสียดแทงเจ็บสันหลังก็มี มีอาการให้กระทำโทษต่างๆ ภายใน ในการฟกช้ำอาจเกิดเป็นเม็ดและช้ำภายใน โลหิตไม่กระจายออก ทำให้เส้นต่างๆ อักเสบ กระดูกสันหลังได้รับความกระทบกระเทือน

หมอโบราณบางทีก็เรียกว่า "อาสันทฆาต" เหตุว่าเกิดเพราะไข้พิฆาตบอบช้ำ และโรคนี้ถ้าหมอให้การรักษาไม่ถูกต้องก็อาจตายได้ และโรคนี้รักษาไม่หาย นานเข้าหมอก็เรียกว่า "ตรีสันทฆาต" เพราะความชอกช้ำที่ได้รับแต่ครั้งแรก มักจะทำให้เกิดเป็นเม็ดขึ้นในดี, ตับ, หัวใจ และลำไส้ โบราณเรียกว่า "เม็ดกาฬ" จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอุจจาระเป็นโลหิต คลั่งเพ้อจุกเสียด ท้องขึ้นพองเหมือนท้องมาน ถ้าอาการเป็นเช่นนี้แล้ว หมอโบราณว่าหมดทางรักษา

ถ้ารู้ตัวว่าเป็นโรคโทสันทฆาตก็ต้องรับรักษาเสียเมื่อมีอาการเริ่มเป็นอย่างทิ้งไว้นาน โบราณถือว่าการกระทบกระแทกฟกช้ำอย่างแรง เลือดที่ช้ำไม่กระจายจะเป็นโทษแก่ร่างกาย หรือสตรีที่ประจำเดือนไม่มาก็เป็นโทสันทฆาตได้ แต่ที่ท่านไม่มีอาการดังกล่าวก็ไม่เป็นโรคโบราณดังกล่าวนี้ก็ได้ แต่ถ้าท่านมีอาการดังกล่าวขึ้นมาก็ควรรักษาและปรึกษาหมอก่อน เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง

ยารักษา
มีตัวยาดังนี้ เถาระค้าน ผักแพวแดง หัวดองดึง หัวว่านน้ำ มหาหิงคุ์ ยาดำ โกศจุฬาลัมภา โกศสอ โกศพุงปลา หัวอุตพิด ชะเอมเทศ ดอกดีปลี แก่นแสมทะเล หนักสิ่งละ 15 กรัม พริกไทยหนัก 195 กรัม

วิธีทำ

เอายารวมกันบดให้ละเอียด

วิธีใช้

ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานมื้อละ 2-3 เม็ดวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร แก้อาการและโรคโทสันทฆาตนั้นแล

คล้ายโรคติดเชื้อเอนทาโรไวรัส ๗๑

ตานขโมยเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ หลังจากคลอดแล้ว 3-4 เดือน มีเม็ดขึ้นที่เหงือกข้างบนและข้างล่าง มีสีดำแดง บางทีก็สีเหลือง ตัวลายเหมือนเส้นเลือด เจ็บทั่วสรรพางค์กาย เด็กขาดความต้านทานโรค เนื้อหนังเหี่ยวผอม ไม่น่ารัก ตัวมีกลิ่นเหม็นคาว พุงโร ก้นปอด ท้องเดินไม่รู้หยุด เป็นน้ำส่าเหล้าและเป็นน้ำคาวปลา น้ำไข่เน่า เป็นมูก เป็นหนองก็ดี อุจจาระหยาบเหม็นคาวอย่างร้ายกาจ ทำให้ตาฟางเรียกว่า เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
ปัจจุบันคงบอกว่าเป็นโรคขาดอาหาร แต่โรคตานขโมยในโบราณบอกว่า โรคตานขโมยนี้ขึ้นในตับ อุจจาระเป็นมูก เป็นโลหิต อกรวบแหลมเหมือนอกไก่ ขึ้นลำไส้อ่อนทำให้อุจจาระเขียวดังใบไม้ และหนังตามตัวจะเป็นเกล็ดเหมือนเกล็ดงู

ต้นเหตุของโรคตานขโมย เกิดจากเด็กเกิดมาแล้วกินอาหารแปลกรสที่ไม่เคยกิน ประกอบกับธาตุของเด็กอ่อนในการย่อยอาหารไม่ดี จึงทำให้เกิดโรคตานขโมยขึ้น และประกอบกับอาหารนั้นไม่สะอาด จึงทำให้เกิดตัวกิมิชาติ (พยาธิ) ขึ้นในท้องและลำไส้ คือตัวพยาธิไส้เดือนและพยาธิต่าง ๆ แย่งอาหารที่เด็กกินเข้าไปเสียหมด จึงทำให้เด็กท้องป่อง ก้นปอด อุจจาระหยาบเหม็นคาว เด็กสุขภาพไม่สมบูรณ์ ร้องงอแง ไม่น่ารัก จิตใจเด็กไม่แจ่มใส เป็นเด็กอมโรค ขี้มูกขี้กรัง เด็กชอบอมนิ้วมือและกัดเล็บ

ถ้าไม่พาเด็กไปหาหมอรักษาเด็กจะอมโรค ผอมลง ลักษณะหนังหุ้มกระดูก หัวท้ายเล็ก ตรงกลางท้องป่อง เด็กจะอ่อนแอลง อุจจาระหยาบขาว เหม็นคาวจุด แล้วนัยน์ตามัวมองอะไรไม่เห็น น่าสงสารมาก และเด็กจะตายในที่สุด โรคตานขโมยมีผู้ปากครองเด็กวิตกกันมากที่สุดในสมัยโบราณ จนถึงปัจจุบันนี้ มีพ่อแม่บางรายยังเสาะหายาโบราณมารักษาโรคตานขโมยกันอยู่ โรคนี้ในสมัยก่อน ๆ คร่าชีวิตเด็กไปเสียมิใช่น้อย ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีเหลืออยู่บ้างแต่ไม่มากแล้ว เพราะสังคมปัจจุบันนี้มีทั้งหมอแผนใหม่ และหมอแผนเก่าช่วยเหลือได้มาก

โรคนี้ต้นเหตุคือโรคพยาธิที่เกิดขึ้นในท้องกับธาตุเด็กเสีย อุจจาระบ่อย ๆ เนื่องจากกินอาหารไม่สมดุลกับร่างกาย และอาหารที่กินไม่สะอาดนั่นเอง ถ้ากินอาหารสะอาด หมั่นถ่ายพยาธิ ให้ยาบำรุงธาตุเด็ก เด็กคงไม่เป็นโรคนี้

โรคตานขโมย ถ้าเกิดขึ้นกับเด็กโบราณจะใช้ยาดังนี้ รากไข่เน่า รากทับทิม รากอีเหนียว รากสะแก ชุมเห็ดไทย ทั้งต้น กะเพราะแดงทั้งต้น รากเล็บมือนาง ลูกขี้กาแดง หัวแห้วหมู มะตูมอ่อน หัวเต่าเกียด หัวเต่านา หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ แก่นจันทร์ แก่นจันทร์แดง หนักสิ่งละ 30 กรัม ใบมะกา 1 กำมือ ใบกระพังโหม 1 กำมือ

วิธีทำ ต้ม เติมน้ำให้ท่วมยาต้มให้เดือด

เด็กโต
รับประทานมื้อละ 1-2 ช้อนโต๊ะ เด็กเล็ก 2 ช้อนกาแฟ รับประทานวันละ 3 เวลา ก่อนอาหารเช้าหรือเย็น

อาการตามัว หนังเป็นเกล็ด โบราณให้ใช้อาหารดังนี้ ใช้ตับไก่ดำหรือตับสัตว์ต่าง ๆ ก็ได้ปรุงเป็นอาหารใช้ตับสัตว์ดังกล่าวผสมกับดอกไม้จีนที่ทำอาหารผสมกัน ผัดให้รับประทานทุกวัน หรือใช้ ไข่ 1 ฟองและใช้ เม็ดในสะแกคือ แกะเอาแต่เมล็ดในประมาณ 30-40 เมล็ด ทอดกับไข่ให้เด็กกินทุกวัน จะช่วยอาการนี้ได้

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันแม่แห่งชาติ

แม่ผู้ซึ่งให้กำเนิดเรา แม่ผู้เป็นคนดูแลเราตั้งแต่เล็ก
แม่ผู้ซึ่งเปรียบเสมือนนางพยาบาลผู้ดูแลเรายามป่วยไข้
แม่ซึ้งเป็นเหมือนคุณครูคนแรกของเรา
มืออันแข็งแรงและอ่อนโยนที่เปี่ยมไปด้วยความรักและความห่วงใยซึ่งคอยพยุงเราที่ล้มลงให้ลุกขึ้นอย่างสง่างาม
สามารถดำรงชีวิตในวันต่อไปอย่างมั้นคง
แม่ยอมอดทนอุ้มท้องเรามากกว่า9เดือน เลี้ยงดูมากกว่าสิบปีด้วยความรักที่แม่มีให้ต่อลูกความหวังที่จะได้เห็นลูกเติบโตอย่างงดงามในวันข้างหน้า
ความผูกพันพันที่เกิดขึ้นมาต่อลูกที่เลี้ยงดูมากว่าสิบปี
แม่เป็นคนรักเรามากที่สุดแม้ว่าบางครั้งเราจะไม่รู้ว่าแม่รักเราแค่ไหนก็ตาม
ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปมานานนับสิบปี แต่แม่ก็ยังห่วงใยเรามาตลอดไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
แม้ว่าเราจะเลือกทางผิด แม้ว่าเราจะเปี่ยนแปลงไปมากแค่ไหนก็ตาม
แม้ว่าเราจะเป็นคนไม่ดีทำตัวก้าวร้าวต่อแม่แม่ก็ยังเป็นห่วงเราเพราะไม่ว่าอย่างไรเราก็ยังเป็นลูกของแม่
และแม่ก็ยังคงเป็นแต่ที่ห่วงใยเราเหมือนเดิมตลอดไป
                     ยามแก่เฒ่า    หวังเจ้า     เฝ้ารับใช้
                     ยามป่วยไข้    หวังเจ้า     เฝ้ารักษา
                     ยามถึงยาม    ต้องตาย     วายชีวา                                                                  
                     หวังลูกช่วย  ปิดตา        เมื่อสิ้นใจ