วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

บัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
 
โดย นพท. สมชาย อ้นทอง (นายแพทย์แผนไทย สมชาย อ้นทอง)

นับเป็นข่าวดีของประชาชนชาวไทย เมื่อได้เห็นความตั้งใจในการผลักดัน ปรับปรุงแก้ไข ระบบบัญชียาจากสมุนไพรเพื่อให้ทันต่อสภาพของปัญหาสุขภาพ วิทยาการ และข้อมูลเกี่ยวกับยาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ทันสถานการณ์ ของคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และผู้เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง จนได้รับการประกาศใช้บัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๔๔ ใน ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ทำให้วันนี้คนไทยมียาแผนไทยสำหรับใช้ในสถานพยาบาลของรัฐ ที่ครอบคลุมขึ้นถึง ๗๑ รายการ ดังนี้ครับ

กลุ่มที่ ๑ ยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ ๕๐ รายการ

.๑ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม)

(๑) ยาหอมทิพโอสถ (๔) ยาหอมแก้ลมวิงเวียน

(๒) ยาหอมเทพจิตร (๕) ยาหอมอินทจักร

(๓) ยาหอมนวโกฐ

.๒ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร

.๒.๑ กลุ่มยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

(๑) ยาธาตุบรรจบ (๖) ยาประสะเจตพังคี

(๒) ยาธาตุอบเชย (๗) ยามันทธาตุ

(๓) ยาเบญจกูล (๘) ยามหาจักรใหญ่

(๔) ยาประสะกะเพรา (๙) ยาวิสัมพยาใหญ่

(๕) ยาประสะกานพลู (๑๐) ยาอภัยสาลี

.๒.๒ กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องผูก

(๑) ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง (๒) ยาธรณีสันฑะฆาต

.๒.๓ กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องเสีย

(๑) ยาธาตุบรรจบ (๒) ยาเหลืองปิดสมุทร

.๒.๔ กลุ่มยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก

(๑) ยาผสมเพชรสังฆาต (๒) ยาริดสีดวงมหากาฬ

.๓ ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

(๑) ยาประสะไพล (๔) ยาไฟห้ากอง

(๒) ยาปลูกไฟธาตุ (๕) ยาเลือดงาม

(๓) ยาไฟประลัยกัลป์ (๖) ยาสตรีหลังคลอด

.๔ ยาแก้ไข้

(๑) ยาเขียวหอม (๔) ยาประสะเปราะใหญ่

(๒) ยาจันทน์ลีลา (๕) ยามหานิลแท่งทอง

(๓) ยาประสะจันทน์แดง (๖) ยาห้าราก

.๕ ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ

(๑) ยาแก้ไอผสมกานพลู (๕) ยาตรีผลา

(๒) ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม (๖) ยาประสะมะแว้ง

(๓) ยาแก้ไอผสมมะนาวดอง (๗) ยาปราบชมพูทวีป

(๔) ยาแก้ไอพื้นบ้านอีสาน (๘) ยาอำมฤควาที

.๖ ยาบำรุงโลหิต

(๑) ยาบำรุงโลหิต

.๗ ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก

) ยาสำหรับรับประทาน

(๑) ยากษัยเส้น ยาลูกกลอน (๔) ยาผสมโคคลาน

(๒) ยาแก้ลมอัมพฤกษ์ (๕) ยาผสมเถาวัลย์เปรียง

(๓) ยาธรณีสันฑะฆาต (๖) ยาสหัศธารา

) ยาสำหรับใช้ภายนอก

(๑) ยาขี้ผึ้งไพล (๒) ยาประคบ ยาประคบสมุนไพร

.๘ ยาบำรุงธาตุ ปรับธาตุ

(๑) ยาตรีเกสรมาศ (๓) ยาเบญจกูล

(๒) ยาตรีพิกัด (๔) ยาปลูกไฟธาตุ

กลุ่มที่ ๒ ยาพัฒนาจากสมุนไพร ๒๑ รายการ

.๑ ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหาร

(๑) ยากล้วย (๔) ยาชุมเห็ดเทศ

(๒) ยาขมิ้นชัน (๕) ยาฟ้าทะลายโจร

(๓) ยาขิง (๖) ยามะขามแขก

.๒ ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ

(๑) ยาฟ้าทะลายโจร

.๓ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบผิวหนัง

(๑) ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง (๔) ยาเปลือกมังคุด

(๒) ยาทิงเจอร์พลู (๕) ยาพญายอ

(๓) ยาบัวบก

.๔ ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก

) ยาสำหรับรับประทาน

(๑) ยาเถาวัลย์เปรียง

) ยาสำหรับใช้ภายนอก

(๑) ยาพริก (๓) ยาน้ำมันไพล

(๒) ยาไพล

.๕ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะ

(๑) ยากระเจี๊ยบแดง (๒) ยาหญ้าหนวดแมว

.๖ ยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน

(๑) ยาบัวบก (๓) ยารางจืด

(๒) ยามะระขี้นก (๔) ยาหญ้าปักกิ่ง

.๗ ยาถอนพิษเบื่อเมา

(๑) ยารางจืด

.๘ ยาลดความอยากบุหรี่

(๑) ยาหญ้าดอกขาว

ตรีผลา ยาปรับสมดุลธาตุ

ตรีผลา เป็นพิกัดยาที่ตั้งขึ้นโดยการนำผลของสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ผลสมอไทย ผลสมอภิเภก และผลมะขามป้อม ในอัตราส่วน 1:1:1 มาจัดรวมกันเป็นพิกัดยา เนื่องจากตรีผลาจัดเป็นยาเย็นที่มีรสชาติถึง 5 รสได้แก่รสเปรี้ยว ฝาด ขม อมหวาน และเค็ม จึงสามารถ แก้ในทางปิตตะ วาตะ เสมหะ ในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน แพทย์แผนไทยจึงนิยมนำมาประกอบเป็นยารักษาโรคต่างๆและเป็นยาช่วยปรับสมดุลธาตุในช่วงฤดูร้อน
จากข้อมูลการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่า ตรีผลามี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 17 - 63 เปอร์เซ็นต์ จึงจัดเป็นยาอายุวัฒนะที่ดีมาก และจากผลการทดลอง ในสัตว์ทดลองด้วยอาหารเสริมตรีผลา พบว่า ในการ ให้ระยะสั้น ลดการเกิดเนื้องอก 77 เปอร์เซ็นต์ ส่วน การให้ในระยะยาวลดลง 66 เปอร์เซ็นต์ และ 62 เปอร์เซ็นต์ และตรีผลามีฤทธิ์มากกว่าสมุนไพรเดี่ยว แต่ละชนิด ซึ่งจะเห็นว่า คุณสมบัติตรีผลาที่มีคุณสมบัติป้องกันการเกิดเนื้องอกที่ดี


สมอภิเภก มีชื่ออื่น เรียกว่า สมอแหน แหน แหนต้น แหนขาว ลัน (เชียงราย) เป็นพันธุ์ไม้ผลัดใบ ผิวเปลือก ต้น แตกเป็นร่องเล็ก ๆ รอยถากมีสีเหลือง เป็นพืช ในป่าเบญจพรรณ ใช้ส่วนผลเป็นยา และเป็น ผลที่แก่เต็มที่ สารที่พบในสมอภิเภก คือ สารแทนนินสูง มีรสเปรี้ยวฝาดอมหวาน มี สรรพคุณตามตำรายาไทยแก้เสมหะ แก้ไข้ และแก้โรคริดสีดวงทวาร


สมอไทย มีประวัติการใช้ในสมัยพุทธกาล คือครั้นพระพุทธเจ้าประชวรหรือพระสงฆ์ อาพาธ ก็จะฉันผลสมอไทยเป็นยา หรือเรียกว่า พุทธโอสถ สรรพคุณตามตำรายาไทย สมอไทย มี รสเปรี้ยว ฝาด ขม แทรกด้วยรสเค็มช่วยกัดเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ แก้ท้องผูก แก้ไข บำรุงน้ำดี ช่วย ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง รส ฝาดช่วยสมานแผลแก้โรค กระเพาะอาหาร


มะขามป้อม สรรพคุณตามตำรา ยาไทย ผลแก่ รสเปรี้ยว ฝาดขม แก้ไข้ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอแก้หวัด ช่วยขับปัสสาวะ แก้เลือดออก- ตามไรฟัน รากต้มแก้ร้อนใน

สำหรับผู้ที่สนใจจะเตรียมสมุนไพรตรีผลาไว้รับประทานเอง สามารถเตรียมเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น เตรียมเป็นยาผง ชงเป็นชา หรือผสมน้ำผึ้งเป็นลูกกลอน หรือจะบรรจุเป็นแคปซูล รับประทานวันละ 1 - 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง ส่วนถ้าจะให้เข้ากับฤดูร้อนก็ต้มเป็นยาน้ำดื่ม เติมความหวานด้วยน้ำผึ้งก็จะได้สรรพคุณที่ดีครับ


บทความโดย พท.สมชาย อ้นทอง

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยประเภทของไข้

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยประเภทของไข้ต่างๆ


๑. ลักษณะของไข้ ซึ่งเมื่อเวลาจับและกำลังวัน จะบอกว่าไข้นั้นเป็นไข้ประเภทใด มี? ๓ สถาน คือ
๑.๑ ไข้เอกโทษ เริ่มจับเวลาย่ำรุ่งถึงบ่าย ๒ โมง แล้วไข้นั้นจะค่อยๆ คลายลง
๑.๒ ไข้ทุวันโทษ เริ่มจับเวลาย่ำรุ่งถึง ๒ ทุ่ม แล้วไข้นั้นจะค่อยๆ คลายลง
๑.๓ ไข้ตรีโทษ เริ่มจับเวลาย่ำรุ่งถึงตี ๒ แล้วต่อถึงรุ่งเช้าแล้วไข้นั้นจะค่อยๆ ส่างคลายลง
๒. ลักษณะของวันเวลาที่ไข้กำเริบ มี ๔ สถาน คือ
๒.๑ กำเดา กำเริบ ๔ วัน
๒.๒ เสมหะ กำเริบ ๙ วัน
๒.๓ โลหิต กำเริบ ๗ วัน
๒.๔ ลม กำเริบ ๑๓ วัน
๓. กำลังของธาตุกำเริบ มี ๔ สถาน คือ
๓.๑ ตติยะชวร คือ นับจากวันเริ่มไข้ไปจนถึง ๔ วัน
๓.๒ ตรุณชวร คือ นับจากวันที่ ๕ ไปถึงวันที่ ๗ รวม ๓ วัน
๓.๓ มัธยมชวร คือ นับจากวันที่ ๘ ไปถึงวันที่ ๑๕ รวม ๘ วัน
๓.๔ โบราณชวร คือ นับจากวันที่ ๑๖ ไปถึงวันที่ ๑๗ รวม ๒ วัน
ต่อไปจากนี้ ธาตุต่างๆได้พิการไปแล้วโดยไม่มีกำหนด วันเวลาว่านานเท่าไร ระยะนี้เราเรียกว่า จัตตุนันทชวร
๔. ลักษณะไข้ กล่าวไว้ว่าแสดงโทษ ดังต่อไปนี้
๔.๑ ไข้เอกโทษ มี ๓ สถาน คือ
๑) กำเดาสมุฏฐาน มีอาการจิตใจฟุ้งซ่าน ปวดหัว คลุ้มคลั่ง จิตหวั่นไหว ตัวร้อนจัด นัยน์ตาเหลือง แต่ปัสสาวะแดง อาเจียนมีสีเหลือง กระหายน้ำ ปากขม น้ำลายแห้ง ผิวแห้งแตกระแหง ผิวหน้าแดง ตัวเหลือง กลางคืนนอนไม่หลับ เวลาจับ จิตใจมักเคลิ้มหลงใหล น้ำตาไหล
๒) เสมหะสมุฏฐาน มีอาการหนาวมาก? ขนลุกชันทั่วตัว จุกในอก แสยงขน กินอาหารไม่ได้ ปากหวาน ฝ่ามือฝ่าเท้าขาว อุจจาระปัสสาวะก็ขาวด้วย อาเจียนและเบื่อ เหม็นอาหาร จับสะท้านหนาว
๓) โลหิตสมุฏฐาน (ไข้เพื่อโลหิต) มีอาการตัวร้อนจัด ปวดหัว กระหายน้ำ เจ็บตามเนื้อตามตัว ปัสสาวะเหลือง ผิวตัวแดง ฟันแห้ง ลิ้นคางแข็ง ปากแห้งน้ำลายเหนียว
๔.๒ ไข้ทุวันโทษ มี ๔ สถาน คือ
๑) ทุวันโทษ ลมและกำเดา มีอาการจับหนาวสะท้าน ตัวร้อนจัด กระหายน้ำ เหงื่อตก จิตใจระส่ำระสาย วิงเวียน ปวดหัวมาก
๒) ทุวันโทษ กำเดาและเสมหะ มีอาการหนาวสะท้าน แสยงขน จุกแน่นในอก หายใจขัดไม่สะดวก เหงื่อตก ปวดหัว ตัวร้อน
๓) ทุวันโทษ ลมและเสมหะ มีอาการหนาว ต่อมาจะรู้สึกร้อน (ร้อนๆ หนาวๆ) วิงเวียน เหงื่อไหล ปวดหัว นัยน์ตามัว ไม่ยอมกินอาหาร
๔) ทุวันโทษ กำเดาและโลหิต มีอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืน แต่พอหลับตามักจะเพ้อ ปวดหัวมาก จิตใจกระวนกระวาย ร้อนในกระหายน้ำ เบื่ออาหารไม่ยอมกิน
๔.๓ ไข้ตรีโทษ มี ๓ สถาน คือ
๑) ตรีโทษ เสมหะ กำเดาและลม มีอาการเจ็บตามข้อทั่วทั้งลำตัว ร้อนใน กระหายน้ำ จิตใจระส่ำระสาย เหงื่อไหลโทรมทั่วตัว ง่วงนอนมาก
๒) ตรีโทษ กำเดาโลหิตและลม มีอาการปวดเมื่อยทั้งตัว ปวดหัวมากที่สุด เกิดวิงเวียนหนักหัว หนาวสะท้าน ไม่ใคร่รู้สึกตัว เหม็นเบื่ออาหาร เชื่อมซึม ง่วงนอน
๓) ตรีโทษ โลหิตเสมหะและกำเดา มีอาการเร่าร้อน กระหายน้ำ กลางคืนหลับไม่สนิท จิตใจระส่ำระสาย เหงื่อตก หน้าเหลือง อาเจียนเป็นสีเหลืองมีโลหิต นัยน์ตาแดงจัด
อนึ่ง ถ้าหากกำเดา เสมหะ โลหิต และลม ๔ ประการนี้รวมกันให้โทษ ๔ อย่าง คือ ตัวแข็ง หายใจขัด ชักคางแข็ง ลิ้นแข็ง ท่านเรียกโทษนี้ว่า มรณชวร หรือตรีทูต
๕. กำเนิดไข้โดยรู้จากอาการของไข้นั้นๆ ที่แสดงให้เห็น เช่น
๕.๑ ไข้สันนิบาต คือ
๑) ไข้ใดให้มีอาการตัวร้อน กระหายน้ำ หมดแรง ปากแตกระแหง นัยน์ตาแดง เจ็บไปทั่วตัว ชอบอยู่ในที่เย็นๆ
๒) ไข้ใดให้มีอาการตัวเย็น ชอบนอน เบื่ออาหาร เจ็บในคอ และลูกตา นัยน์ตาแดงจัด เจ็บหูทั้งซ้ายขวา เจ็บปวดตามร่างกาย กระหายน้ำ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก คลื่นไส้อาเจียนเป็นสีเหลือง
๓) ไข้ใดให้มีอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาว ปวดหัว ปวดฟัน เจ็บในคอ ขัดหน้าอก กระหายน้ำมาก ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ปัสสาวะและอุจจาระไม่ใคร่ออก
๕.๒ ไข้สันนิบาตโลหิต คือ
ไข้ใดให้มีอาการเจ็บที่สะดือแล้วลามขึ้นไปข้างบน วิงเวียน หน้ามืด เจ็บที่ท้ายทอย(กำด้น) ขึ้นไปถึงกระหม่อม สะบัดร้อนสะบัดหนาว ท้องอืดแน่น อาการเช่นนี้ท่านว่า เป็นสันนิบาตโลหิต
๕.๓ ไข้สันนิบาตปะกัง คือ
ไข้ใดให้เห็นมีเม็ดสีแดงผุดทั่วตัว มีอาการปวดหัวเมื่อตอนพระอาทิตย์ขึ้น ไข้นี้เรียกว่าไข้สันนิบาตปะกัง
๕.๔ ไข้ตรีโทษ คือ
ไข้ใดเมื่อพิศดูรูปร่างแล้ว มีลายตามตัว มีอาการเพ้อละเมอไป ผู้อื่นพูดด้วยไม่ได้ยินเสียง(หูอื้อ) เรียกว่า ไข้ตรีโทษ
๕.๕ ไข้ที่เกิดจากลมและเสมหะระคนกัน คือ
ไข้ใดมีอาการหนาวสะท้าน เกียจคร้าน วิงเวียน ปวดหัว แสยงขน กระหายน้ำ เจ็บบริเวณเอว และท้องน้อย ในปากคอและน้ำลายแห้ง นอนหลับมักลืมตา ทั้งนี้เพราะลมและเสมหะระคนกัน
๕.๖ ไข้ที่เกิดจากเสมหะและดีระคนกัน คือ
ไข้ใดให้มีอาการหน้าแดง ผิวหน้าแห้ง กระหายน้ำ นอนไม่หลับ อาเจียน และปัสสาวะออกมามีสีเหลือง มักหมดสติไป ไข้นี้ท่านว่าเสมหะระคนกับดี
๕.๗ ไข้ที่เกิดจากลมและกำเดา คือ
ไข้ใดให้มีอาการท้องขึ้น วิงเวียน สะอึก และอาเจียน ไข้นี้เป็นโทษลมและเสมหะกระทำ
๕.๘ ไข้ที่เกิดจากเลือดลมและน้ำเหลือง คือ
ไข้ใดที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนแต่น้ำลาย ไข้นี้ท่านว่าเลือดลมและน้ำเหลืองเข้ามาระคนกัน
๕.๙ ไข้เพื่อดี คือ
ไข้ใดให้มีอาการขมในปาก เจ็บหัว นอนมาก และเจ็บตามตัว โทษนี้เกิดจากเป็นไข้เพื่อดี
๕.๑๐ ไข้เพื่อกำเดา คือ
ไข้ใดให้มีอาการปวดหัว อาเจียน นอนไม่หลับ กระหายน้ำ? เจ็บในปากและในคอ หรือไข้ใดให้มีอาการเจ็บนัยน์ตา หัวร้อนดังกระไอควันไฟท่านว่ากำเดาให้โทษ
๕.๑๑ ไข้เพื่อโลหิต คือ
ไข้ใดให้มีอาการเจ็บแต่ฝ่าเท้า และร้อนขึ้นไปทั่วตัวให้เร่งรักษาแต่ภายในกลางคืนนั้นอย่าให้ทันถึงรุ่งเช้าจะมีอันตราย มีอาการเจ็บมากที่หน้าผาก จิตใจกระวนกระวาย ท่านว่า เป็นไข้เพื่อโลหิต
๕.๑๒ ไข้เพื่อเสมหะ คือ
ไข้ใดให้มีอาการนอนฝัน เพ้อ น้ำลายมากในปาก มือ และเท้าเย็น อยากกินอาหารคาวหวาน มือและเท้ายกไม่ขึ้น สะบัดร้อนสะบัดหนาว โทษนี้เสมหะกระทำ
๕.๑๓ ไข้เพื่อลม คือ
๑) ไข้ใดให้มีอาการ ขมในปาก อยากกินแต่ของแสลง เนื้อสั่นระริก และเสียวทั้งตัว เจ็บไปทั้งตัว จุกเสียด หรือ
๒) ไข้ใดให้มีอาการหนาวสะท้าน บิดขี้เกียจ ยอกเสียดในอก ท่านว่าเป็นไข้เพื่อวาตะ(ลม)หรือ
๓) ไข้ใดให้มีอาการหนาวสะท้าน อาเจียน แสยงขน ปากหวาน เจ็บไปทั่วตัว อยากนอนตลอดเวลา เบื่ออาหาร หรือ
๔) ไข้ใดให้มีอาการสะอึก อาเจียน? และร้อนรุ่มกลุ้มใจ ท่านว่าเป็นไข้เพื่อลม
๕) ไข้ใดให้หมอดูร่างกายเศร้าดำไม่มีราศี ไอ กระหายน้ำ ฝาดปาก เจ็บอก หายใจขัด เพราะในท้องมีก้อนๆ ทั้งนี้เป็นไข้เพื่อลม
๕.๑๔ ไข้เพื่อกำเดา คือ
ไข้ใดให้มีอาการเจ็บตามผิวหนัง ปัสสาวะเหลือง ร้อนใน กระวนกระวาย ชอบอยู่ที่เย็น นัยน์ตาแดง ลงท้อง กระหายน้ำ ทั้งนี้เป็นไข้เพื่อกำเดา
๕.๑๕ ไข้สำประชวร คือ
ผู้ใดมีอาการเป็นไข้เรื้อรังมาเป็นเวลานานๆ รักษาไม่หาย ทำให้ร่างกายซูบผอมไม่มีแรง เบื่ออาหาร ไข้นี้จะเนื่องมาจากไข้เพื่อเสมหะ โลหิต ดี กำเดาหรือลม เป็นเหตุก็ตาม ให้แพทย์สังเกตดูที่นัยน์ตาของคนไข้จะรู้ได้ว่า คนไข้นั้นเป็นไข้เพื่ออะไร ซึ่งมี ๕ ประการด้วยกัน คือ
๑) ไข้เพื่อกำเดา มีอาการปวดหัวตัวร้อน สะท้านร้อนสะท้านหนาว ไม่มีน้ำตา ปากคอแห้ง กระหายน้ำ นัยน์ตาแดงดังโลหิต
๒) ไข้เพื่อโลหิต มีอาการปวดหัวตัวร้อน หน้าแดงนัยน์ตาแดง มีน้ำตาคลอ นัยน์ตาแดงดังโลหิต
๓) ไข้เพื่อเสมหะ มีอาการหนาว แสยงขน ขนลุกทั้งตัว หรือไม่ร้อนมาก นัยน์ตาเหลืองดังขมิ้น
๔) ไข้เพื่อดี มีอาการตัวร้อน เพ้อคลั่ง ปวดหัว กระหายน้ำ ขอบนัยน์ตาสีเขียวเป็นแว่น
๕) ไข้เพื่อลม มีอาการวิงเวียน หน้ามืด ตัวไม่ร้อน นัยน์ตาขุ่นคล้ำและมัว
อีกพวกหนึ่งนัยน์ตาไม่สู้แดงนัก(แดงเรื่อๆ) ถ้าเป็นกับชาย เกิดจากเส้นอัมพฤกษ์ ถ้าเป็นกับหญิง เกิดจากเส้นปัตคาด
๕.๑๖ ไข้เพื่อลมและเสมหะ คือ
ไข้ใดให้มีอาการปวดหัวมาก ไอ หาวนอน บิดตัวเกียจคร้าน เหงื่อไหล ทั้งนี้เป็นเพราะถูกลมเสมหะมาทับระคน
๕.๑๗ ไข้เพื่อเสมหะและกำเดา คือ
ไข้ใดให้มีการซึมมัว กระหายน้ำ ขมปาก ท้องร้อง เจ็บตามตัว เหงื่อไหล ไอ ตัวไม่ร้อน เป็นปกติ ทั้งนี้เป็นเพราะเสมหะและกำเดา
๕.๑๘ ไข้ตรีโทษ คือ
มีโทษ ๓ ประการ คือ เจ็บไปทั่วตัว นอนไม่หลับ และเบื่ออาหาร อาการ ๓ ประการนี้ จะเกิดขึ้นในขณะอยู่ในทุวันโทษ ซึ่งแพทย์พอรักษาได้
๕.๑๙ ไข้สันนิบาต คือ
ไข้ใดให้มีอาการไอแห้ง หอบมีเสมหะในคอ เล็บมือและเล็บเท้าเขียว นัยน์ตาสีเขียว มีกลิ่นตัวสาบดังกลิ่นสุนัข ,แพะ,แร้ง หรือนกกา โกรธง่าย เรียกว่าไข้สันนิบาต มักถึงที่ตาย
๕.๒๐ ลักษณะไข้แห่งปถวีธาตุ คือ
ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ ๑ ? ๒ วัน ให้มีอาการเชื่อมมัว หมดสติ ไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายยาก็ไม่ออก ไม่กินอาหาร แต่อาเจียนออกมาก ถ้าอาการเหล่านี้ยืนนานไปถึง ๑๐ ? ๑๑ วัน ท่านว่าตายเพราะเป็นลักษณะแห่งปถวีธาตุ
๕.๒๑ ลักษณะไข้แห่งวาโยธาตุ คือ
ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ ๓ ? ๔ วัน ให้มีอาการนอนสะดุ้ง หมดสติ เพ้อ เรอ อาเจียนแต่น้ำลาย มือและเท้าเย็น โรคนี้ตาย ๒ ส่วน ไม่ตาย ๑ ส่วน ทั้งนี้เป็นโทษแห่งวาโยธาตุ ถ้าแก้มือเท้าเย็นให้ร้อนไม่ได้ อาการจะทรงเรื้อรังไปถึง ๙ ? ๑๐ วัน จะตายอย่างแน่แท้
๕.๒๒ ลักษณะไข้แห่งอาโปธาตุ คือ
ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ ๔ วัน มีอาการท้องเดิน บางทีมีเสมหะ และโลหิตตามช่องทวารทั้งหนักและเบา บางทีอาเจียนเป็นโลหิต ไข้ใดเป็นดังนี้ เป็นเพราะอาโปธาตุบันดาลให้เป็นไป ถ้ารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นอยู่เป็นเวลา ๘ ? ๙ วัน ต้องตายแน่นอน
๕.๒๓ ลักษณะไข้แห่งเตโชธาตุ คือ
ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ ๓ ? ๔ วัน มีอาการร้อนไปทั้งตัว ทั้งภายนอก ภายในทุรนทุรายหัวใจสับสน ต้องใช้น้ำเช็ดตัวไว้เสมอ ลิ้นแห้ง คอแห้ง แห้งในอก กระหายน้ำ คลั่งไคล้ หมดสติไปให้เจ็บโน่นเจ็บนี่ทั่วร่างกาย คล้ายคนมีมารยา อยากกินของแสลง ดุจผีปอบ(ฉะมบปอบ) อยู่ภายใน โทษนี้คือโทษแห่งเตโชธาตุ ถ้าแก้ความร้อนไม่ตก และอาการยืนอยู่ต่อไป ๗ ? ๘ วัน ต้องตายแน่
ต่อไปนี้ขอให้แพทย์ให้จำไว้ให้แม่นยำว่า ไข้เอกโทษ ทุวันโทษ และไข้ตรีโทษนั้น ถ้ามีการทับสลับกัน ทำให้มีอาการผิดแปลกไปดังต่อไปนี้
๑) ลมเป็นเอกโทษ มักจะเกิดกับบุคคลอายุ ๕๐ ปีขึ้นไปในฤดูวัสสานฤดู เริ่มแต่หัวค่ำให้สะท้านร้อนสะท้านหนาว ปากคอ เพดานแห้ง เจ็บไปทุกเส้นเอ็นทั่วตัว (ปวดเมื่อย) เป็นพรรดึก นอนไม่หลับ จับแต่หัวค่ำ และจะค่อยๆ คลายลงภายใน ๔ นาที เรียกว่า เอกโทษลม
? ถ้าไข้นั้นไม่คลายไปจนถึงเที่ยงคืนก็จะเข้าเป็นทุวันโทษ เกิดเป็นเสมหะกับลม และถ้าไข้นั้นยังไม่คลาย จับต่อไปถึงย่ำรุ่งตลอดไปถึงเที่ยงคืน เรียกว่า ตรีโทษประชุมกันเป็นสันนิบาต
ท่านว่า ถ้าลมเป็นเอกโทษ พ้น ๗ วัน จึงวางยา ถ้าไม่ถึง ๗ วัน ไข้นั้นกำเริบ คือ ไข้ยังจับต่อไปอีก ให้แพทย์รีบวางยา
๒) ดีเป็นเอกโทษ มักเกิดกับบุคคลอายุ ๓๐ ? ๔๐ ปี ไข้จะเกิดในคิมหันตฤดู เริ่มแต่เที่ยงวัน มีอาการตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ กระวนกระวายใจ มึนซึม ในคอมีเสมหะ อุจจาระ ปัสสาวะมีสีเหลืองปนแดง เหงื่อไหล เรียกว่าเอกโทษดี จับแต่เที่ยงไป ๕ นาทีก็จะคลาย
ถ้าดีเป็นเอกโทษจับไข้ยังไม่คลาย จับไปจนถึงค่ำก็เข้าเป็นทุวันโทษ เกิดเป็นลมระคนดี
ถ้าไข้นั้นยังไม่คลายลงจนถึงเที่ยงคืน และจับต่อไปจนรุ่งเช้า ท่านว่าเป็นสันนิบาตตรีโทษให้รีบวางยา
ท่านว่าถ้าจับเอกโทษดี เริ่มจับแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป ๔ ? ๕ นาที ก็จะสร่างคลาย กำหนด ๙ วัน จึงวางยา
๓) เสมหะเอกโทษ มักเกิดกับบุคคลอายุ ๑๕ ปี ในเหมันตฤดูเริ่มจับแต่เช้าตรู่ตอนไก่ขัน มีอาการร้อนข้างนอกกาย แต่ภายในหนาว แสยงขน ไอ คอตีบตื้น กินอาหารไม่ลง เชื่อมมัว ปากหวาน นัยน์ตาขาว อุจจาระปัสสาวะขาว ไข้จับแต่เช้าตรู่ไป ๕ นาที เรียกว่า เสมหะเอกโทษ
ถ้าไข้ยังไม่สร่างคลายไปจนถึงเที่ยงวันจนถึงบ่าย ๕ นาที ดีจะมาระคนกับเสมหะ และถ้าไข้ยังจับต่อไปอีกจนถึงเย็นค่ำ และต่อไป เป็นสันนิบาตตรีโทษ
๑) ทุวันโทษเสมหะและดี เกิดกับบุคคลอายุอยู่ในปฐมวัย คือ ภายใน ๑๖ ปี เป็นไข้ในคิมหันตฤดู มีเสมหะเป็นต้นไข้ และดีเข้ามาระคนเป็น ๒ สถาน ทำให้มีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาว ในปากและคอเป็นเมือก กระหายน้ำ หอบ ไอ เชื่อมมัว ตัวหนัก ไข้เริ่มจับแต่เช้าตรู่ จะสร่างคลายตอนบ่ายโมง ๓ นาที
๒) ทุวันโทษดีและลม เกิดกับบุคคลอายุ ๓๐ ? ๔๐ ปี วสันตฤดู มีดีเป็นต้นไข้ เริ่มจับตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึง เย็นค่ำจึงจะสร่างคลาย มีอาการเชื่อมมัว ปวดเมื่อยตามข้อ หาว อาเจียน ปากและคอแห้ง ขนลุกขนพอง มักสะดุ้ง ตัวร้อน ทั้งนี้เป็นเพราะลมเข้าระคนเป็น ทุวันโทษ
๓) ทุวันโทษลมและเสมหะ เกิดกับบุคคลอายุ ๔๐ ? ๕๐ ปี เหมันตฤดู มีอาการหนักตัว ไอ ปวดหัว เมื่อยตามมือและเท้า มีลมเป็นต้นไข้ เริ่มจับแต่ตอนค่ำไปจนถึงรุ่งเช้าจะสร่างคลายลง มีอาการร้อนรนภายใน เหงื่อไม่มี ข้างนอกเย็น ทั้งนี้เป็นเพราะลมและเสมหะระคนกันเป็น ทุวันโทษ
ได้กล่าวถึงเอกโทษ และทุวันโทษแล้วตามลำดับมา ถ้าไข้นั้นยังมิสร่างคลายจับเรื่อยตลอดมาจะเป็นโทษ ๓ ระคนกันเข้าเป็นโทษสันนิบาต
สันนิบาตจะเกิดระหว่างฤดู ๓ หรือ ฤดู ๖ ให้กำหนดในตอนเช้าเป็นต้นไข้กำเริบเรื่อยไปจนถึงเย็นและเที่ยงคืน ท่านว่าไข้นั้นตกถึงสันนิบาต มีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาว เคืองนัยน์ตา น้ำตาไหล เจ็บปวดตามข้อและกระดูกไปจนถึงสมอง เหงื่อออกมาก นัยน์ตาเหลือง บางทีแดง นัยน์ตาถลนมองดูสิ่งใดไม่ชัด ดูดังคนบ้า หูปวดและตึง คันเพดาน หอบและหายใจสะอื้น ลิ้นปากเป็นเม็ดเน่าเหม็น ลิ้นบวมดำ เจ็บในอก หัวสั่น เวลาหลับตาแต่ใจไม่หลับ ลุกนั่งไม่ไหว พูดพึมพำ อุจจาระบางทีเขียว บางทีดำ กะปริดกะปรอย รอบๆ ข้อมือมีเส้นมีลายสีเขียว สีแดง ถ้าเส้นสีเขียวมีตามตัว ท้องขึ้นผะอืดผะอมมีลมในท้อง ท่านว่าธาตุไฟทั้ง ๔ นั้นดับสิ้นจากกาย
ถ้าผู้ใดป่วยเข้าขึ้นสันนิบาต มีอาการบวมที่ต้นหู จะตายใน ๗ วัน ถ้าบวมที่นัยน์ตาจะตายภายใน ๕ วัน ถ้าบวมที่ปากจะตายภายใน ๗ วัน
จงจำไว้ว่า ถ้าทุวันโทษลมและเสมหะ อันใดอันหนึ่งจะกล้าหรือจะหย่อน เราจะรู้ได้จากอาการคือ ถ้าลมกล้า จะมีอาการท้องผูกปวดเมื่อยตามข้อ ปวดหัว หมดแรง ถ้าเสมหะกล้าจะมีอาการเป็นหวัด ไอ ลุกนั่งไม่สะดวก หนักตัว ถ้าดีกล้าจะจับแต่เที่ยงไปถึงบ่าย และไข้จะค่อยคลายหายไป
ถ้ามีอาการเชื่อมมัว อาเจียน คลื่นไส้ แสดงว่าดีมีกำลังกล้า
ถ้ามีไข้แต่เช้ามืดถึง ๓ โมง เชื่อมมัว ตึงตามตัว ตัวหนัก จะนอนไม่ใคร่หลับสนิท ไอ คือ เสมหะให้โทษกล้ากว่าดี
ทุวันโทษดีและลม ถ้าลมกล้า จะมีอาการจับไข้แต่บ่าย ๓ โมง มีอาการเชื่อมมัว หาวเป็นคราวๆ นอนไม่หลับ จึงถึงเวลาพลบค่ำจึงสร่างคลาย คนไข้จะหลับสนิท
ถ้าดีมีกำลังกล้า จะเริ่มจับไข้แต่เที่ยงไป จะมีอาการซวนเซเมื่อลุกนั่งหรือยืน ตัวร้อน อาการนี้จะมีไปถึงบ่าย ๕ นาทีจะสร่างคลาย
สันนิบาตมี ๓ สถาน คือ ดีเสมหะและลม
ทุวันโทษดีและเสมหะ มีลมมาแทรกทำให้แรงขึ้น คือ ตั้งแต่บ่าย ๕ นาทีถึงสามยาม มีอาการเชื่อมมัว มึนตึงตามตัว หลับหรือตื่นไม่รู้สึกตัว มักนอนสะดุ้ง หูตึง ทั้งนี้เพราะลมมีกำลังกล้ามันจะพัดไปตามหู ตา และคอ
ถ้าเสมหะกล้า จะเริ่มจับแต่บ่าย ๕ นาที ไปจนถึงพลบค่ำต่อไปจนถึงสว่าง ๓ นาที เช้าอาการจะสร่างคลายลง อาการนั้นมีดังนี้คือ ลุกนั่งไม่สะดวก หอบบ่อยๆ คลื่นไส้ ถ่มน้ำลาย หนักตัว ตึงผิวหน้า ปากลิ้นเป็นเมือก

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหัตโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหัตโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

 นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหัตโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

 นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหัตโต สัมมา สัมพุทธัสสะ



ขอนอบน้อมในคุณธรรมและพระฉัพพรรณรังสีทุกประการ อันปรากฏมีในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและองค์มหาบารมีทุกๆพระองค์ และขอนอบน้อมในความสำนึกอันมีในทุกดวงจิตทุกดวงใจแห่งเราท่านทั้งหลาย จิตญาณทั้งหลาย



กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ข้าพเจ้าพร้อมด้วยเหล่าจิตญาณทั้งหลาย ที่พ่วงพันสัมพันธ์กันมา ในทุกชั้นทุกภูมิ ตั้งแต่อเวจีมหานรกจนถึงพรหมโลก ในทุกยุคทุกสมัย ทุกแว่นแคว้นดินแดน



กรรมอันใด ที่เป็นการประมาทล่วงเกิน ต่อองค์คุณองค์ธรรมเบื้องสูง คุณพระพุทธเจ้า พระมหาพุทธเจ้า คุณพระปัจเจกพุทธเจ้า พระมหาปัจเจกพุทธเจ้า คุณพระโพธิสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์ คุณพระอรหันต์ พระมหาอรหันต์

 กรรมอันใด ที่เป็นการประมาทล่วงเกิน ต่อองค์คุณแห่งพระศรีอาริยเมตไตรย์ องค์คุณแห่งพระยาธรรมมิกราช และองค์คุณแห่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อโพธิ์ศรี สุริยะ เขมรโต ในทุกยุคทุกสมัย



กรรมอันใด ที่เป็นการประมาทล่วงเกิน ต่อคุณแห่งพระสัจธรรม เคยเพิกเฉยเมินเฉย ลังเลสงสัย วิพากษ์วิจารณ์ ลบหลู่ดูหมิ่น หรือได้เคยปฏิเสธ ต่อพระสัจธรรมคำสอน เอาไว้ในกาลหนึ่งกาลใด

กรรมอันใด ที่ได้เคยนำพระสัจธรรมคำสอน มาล้อเลียน ล้อเล่น หรือได้เคยนำพระสัจธรรมคำสอน มาบิดเบือน ดัดแปลง ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าเอง และเป็นเหตุให้เกิดการถ่ายทอดความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปสู่บุคคลอื่น



กรรมอันใด ที่เป็นการประมาทล่วงเกิน ต่ออริยคุณทั้งหลาย พระอริยเจ้า อริยสงฆ์ และหมู่สงฆ์ทั้งหลาย รวมไปถึงเหล่าพุทธสาวก พุทธสาวิกา และในหมู่พุทธบริษัททั้งหลาย

 กรรมอันใด ที่เป็นการประมาทล่วงเกิน เคยทำร้ายทำลาย หรือคิดมุ่งทำลาย ต่อพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพุทธสถาน ธรรมสถาน สังฆสถาน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธปฏิมากร ธรณีสงฆ์ ของสงฆ์ จนเกิดเป็นหนี้กรรมต่อสงฆ์

 กรรมอันใด ที่เคยเป็นเหตุปัจจัย ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาในคุณพระรัตนตรัย เคยดูถูกเหยียดหยาม ตำหนิติเตียน ติฉินนินทา วิพากษ์วิจารณ์ ต่อพระภิกษุสงฆ์องค์เจ้า สามเณรเถรชี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสม หรือไม่เหมาะสมก็ตามที



กรรมอันใด ที่ได้เคยขัดขวางต่อการโปรดสรรพสัตว์ แห่งองค์พุทธะมหาบารมี และเหล่าบรรดาพุทธสาวก พุทธสาวิกา เอาไว้ในยุคหนึ่งสมัยใดก็ตาม และได้เคยขัดขวางบุคคลหนึ่งบุคคลใด มิให้ตรงต่อสัจธรรม หรือเข้าถึงองค์พุทธะมหาบารมี และผู้โปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย

 กรรมอันใด ที่ได้เคยขัดขวาง กีดกัน ทักท้วง เหนี่ยวรั้ง ห้ามปราม บุคคลหนึ่งบุคคลใด มิให้สละธาตุสละขันธ์ออกบวช มิให้บริจาคทาน เอื้อเฟื้อเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน

 กรรมอันใด ที่ได้เคยผิดต่อพุทธบัญญัติ พุทธโอวาท ผิดต่อพระธรรมวินัย ไม่ตรงต่อพุทธประสงค์ และได้เคยผิดต่อปณิธานแห่งการเกื้อกูล การเสียสละทั้งหลาย

 กรรมอันใด ที่ได้เคยสร้างรูปเหมือน พุทธปฏิมากร สิ่งแทนพระองค์ พระเครื่อง ซีดีธรรมะ หนังสือธรรมะ เครื่องรางของขลัง เป็นไปเพื่อจำหน่าย หรือเพื่อลาภสักการะ และเป็นเหตุให้บุคคลอื่น ลุ่มหลงมัวเมา ผิดเพี้ยนไปจากพระสัจธรรมคำสอน



กรรมอันใด ที่เป็นการประมาทล่วงเกิน ต่อคุณแห่งบูรพมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย รวมถึงคุณแผ่นดิน คุณประเทศชาติบ้านเมือง ทั้งบ้านเมืองของตนหรือบ้านเมืองของบุคคลอื่นก็ตามที



กรรมอันใด ที่ได้เคยประมาทล่วงเกิน ตำหนิติเตียน ล้อเลียน ดูถูกเหยียดหยาม ประชดประชัน ดื้อรั้น ทำให้เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจ น้อยใจ ทุกข์ใจ ต่อคุณบิดามารดา (ทุกภพชาติ) คุรุอุปัชฌาย์อาจารย์ ครูบาอาจารย์ บุพการี และผู้มีพระคุณทั้งหมดทั้งสิ้น

 กรรมอันใด ที่ได้เคยประมาทล่วงเกิน ต่อคุณสามี คุณภรรยา คุณบุตรธิดา คุณพี่ คุณน้อง คุณวงศาคณาญาติ คุณมิตรสหาย คุณเพื่อนร่วมงาน คุณเจ้านาย คุณลูกน้อง รวมไปถึงคุณแห่งเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง

 กรรมอันใด ที่ได้เคยสั่งสอน ตักเตือน ว่ากล่าว ต่อบุตรธิดา ลูกหลาน ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด ที่เกินเลยจากการเอื้อเฟื้อเกื้อกูล อนุเคราะห์สงเคราะห์ แต่เป็นไปเพื่อสนองอารมณ์แห่งตน



กรรมอันใด ที่ได้เคยเบียดเบียน ทำร้ายทำลาย ต่อทั้ง"ตนเอง" และ"สรรพชีวิต"ทั้งหลาย ให้ถึงแก่การบาดเจ็บ เสียชีวิต ทุพพลภาพ และได้รับทุกขเวทนา

 กรรมอันใด ที่ได้เคยคดโกง แก่งแย่งชิงเพื่อให้ได้มา หรือเป็นการยักยอก ต่อทรัพย์สินส่วนรวม ของหลวงของแผ่นดิน ทรัพย์สินของทางราชการ ทรัพย์สินของบริษัท หรือของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ของตน มาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือพวกพ้องตน

 กรรมอันใด ที่ได้เคยพรากของรักบุคคลอื่น สามีภรรยา บุตรธิดา ของบุคคลอื่น สิ่งที่ผิดต่อบุคคลต้องห้ามทั้งหลาย

 กรรมอันใด ที่ได้เคยตำหนิติเตียน ใส่ร้ายใส่ความ ติฉินนินทา ยุยงส่งเสริมก่อให้เกิดความแตกแยก ต่อบรรดานักการเมือง ดารา ผู้มีชื่อเสียง หรือในหมู่เพื่อนมนุษย์ หรือ อมนุษย์ทั้งหลาย

 กรรมอันใด ที่ได้ใช้วาจา เป็นไปเพื่อความลามก อนาจาร และได้เคยพาดพิง ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น

 กรรมอันใด ที่ได้เคยลุ่มหลงมัวเมาในอบายมุข การดื่มสุรา เสพสิ่งเสพติด เล่นการพนัน รวมไปถึงการหมกมุ่นในสรรพสิ่งทั้งหลาย



กรรมอันใด ที่ได้เคยเสนอสนองในกิเลสตัณหาซึ่งกันและกัน ทั้งหลายทั้งปวง

 กรรมอันใด ที่ได้เคยหลงยึดติดในธาตุขันธ์แห่งตน หรือธาตุขันธ์บุคคลอื่น หรือยึดติดในที่อยู่ที่อาศัย ในตัวบุคคล หรือทรัพย์สมบัติทั้งหลาย

 กรรมอันใด ที่ได้เคยใช้อำนาจ วาสนา บารมี หรืออำนาจจิต สติ สมาธิ ฌาณ ญาณ ปัญญา หรือคาถาอาคม คุณไสยมนต์ดำ ไปในการเบียดเบียน กักขัง หรือครอบงำจิตบุคคลอื่น เพื่อสนองกิเลสตัณหาแห่งตน เพื่อลาภสักการะ มิได้เป็นไปเพื่อการอนุเคราะห์สงเคราะห์

 กรรมอันใด ที่ได้เคยกล่าวคำสัญญา คำสาบาน คำสาปแช่ง คำอธิษฐาน ที่ผิดต่อสัจธรรม เอาไว้ในกาลหนึ่งกาลใด เป็นเหตุก่อให้เกิดเงื่อนไข ข้อผูกมัด พันธนาการทั้งหลายทั้งปวง ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถอนและขอสละ ปลดปล่อยให้เป็นอิสระซึ่งกันและกันในทุกๆกรณี

 กรรมอันใด ที่เป็นกรรมอนุสัยทั้งหลายทั้งปวง ตั้งแต่ละเอียดสุด จนถึงหยาบที่สุด เป็นกรรมซ้อนธาตุ กรรมซ้อนขันธ์ ซ้อนในธรรมทั้งหลาย สิ่งที่ไม่ตรงต่อสัจธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น

 กรรมอันใด ที่ได้เคยหลงบำเพ็ญปฏิบัติ มุ่งเอาแสวงเอา ทั้ง"ทางโลก" (ทรัพย์สมบัติ ที่อยู่ที่อาศัย ยศฐาบรรดาศักดิ์ บริวาร) และทั้ง"ทางธรรม" (สติ สมาธิ ฌาณ ญาณ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน) ไม่ตรงต่อการปลงการวาง ไม่ตรงต่อนิพพานอยู่แล้ว



กรรมทั้งหลายทั้งปวง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในทุกภพ ทุกชาติ ทุกกัลป์ ทุกกัปป์ ทุกพุทธันดร ในทุกๆกรณีกรรม จะรู้หรือไม่รู้ รู้เท่าถึงการณ์หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ระลึกได้หรือระลึกไม่ได้ ทั้งกุศลกรรม อกุศลกรรม หรือกรรมกลางๆก็ตาม

 ข้าพเจ้าทั้งหลายในทุกชั้นทุกภูมิ น้อมกราบขอขมากรรม ขออโหสิกรรม ขอองค์พุทธะมหาบารมี โปรดทรงเป็นประธาน ยกโทษและอโหสิกรรม ให้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อความไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา ในอนุสัยกรรมและธรรมทั้งปวง

 และข้าพเจ้าทั้งหลายขอประกาศสละ จากสิ่งที่หลงยึดติดทั้งหลายทั้งปวง และขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย จงได้มีส่วนตรงต่อพระสัจธรรม และมีปณิธานแห่งการให้การเสียสละ ตามองค์พุทธะมหาบารมี ตั้งแต่กาลบัดนี้เป็นต้นไปเทอญ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เชื่อว่าผู้อ่านคงคุ้นเคย เพราะเป็นปัญหาที่พบบ่อย แต่ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจผิดกันได้บ่อยๆ ทั้งหมอและคนไข้ ที่ว่าเข้าใจผิดนั้นไม่ได้หมายความว่าตัวเลขความดันโลหิตเท่าไหร่ที่จัดว่าสูง เพราะโดยทั่วไปก็เข้าใจกันถูกต้องอยู่แล้วว่าถ้าตัวเลขสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ก็จะถือว่ามีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ แต่ปัญหามักจะอยู่ตรงที่ว่า เมื่อไหร่ถึงจะเรียกว่าป่วยเป็น "โรคความดันโลหิตสูง" กันแน่

คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าอาการของโรคความดันโลหิตสูงคือ ปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะ ซึ่งที่จริงแล้ว จากประสบการณ์การเป็นหมอมา 30 ปีของผู้เขียน พบว่าคนไข้ที่ปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูงมีเพียงไม่กี่รายเท่านั้น และทุกรายที่พบจะมีความดันสูงมากชนิดเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากโรคที่พบได้น้อย โดยจะเป็นคนละเรื่องกันกับคนส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดศีรษะ พร้อมๆ กับที่มีความดันโลหิตสูง และบ่อยครั้งที่พบว่าเกิดจากความเครียดหรือความกลัวเมื่อปวดศีรษะจนทำให้ความดันสูงได้

คนที่มีความดันโลหิตสูงอาจไม่มีอาการป่วยให้เห็น แต่ถ้าแสดงอาการ แสดงว่าผลของความดันสูงนั้นกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจโต บีบตัวไม่ปกติ หัวใจล้มเหลว มีอาการเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ส่วนปัญหาต่อหลอดเลือด เช่น ตามัว ไตเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

การวัดความดันโลหิตเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นความดันโลหิตสูงหรือไม่นั้นสำคัญมาก เพราะถ้าไม่สูงจริงแล้วไปกินยาลดก็จะเกิดอันตราย และต้องเข้าใจก่อนว่า ความดันโลหิตของคนปกติจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ในช่วงหนึ่ง การแกว่งตัวของค่าความดันนี้จะมากขึ้นเมื่อเกิดความไม่ปกติ เช่น ความเจ็บปวด ตื่นเต้น ตกใจ เครียด กังวล เป็นต้น


การวัดความดันโลหิตเพื่อดูว่ามีความดันสูงจริงหรือไม่ ต้องวัดหลายๆ ครั้งหลังจากที่นั่งพักและผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว และนำค่าทั้งหมดมาพิจารณาดูการแกว่งตัว หากค่าที่วัดได้ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติก็ยังไม่ต้องไปใช้ยา ในบางกรณีหมออาจต้องพิจารณาจากสภาพร่างกายหรือความเจ็บป่วยอื่นประกอบด้วย ไม่ใช่ดูแค่ตัวเลขเท่านั้น

สำหรับเรื่องของความดันโลหิตต่ำนั้น พบว่าเข้าใจผิดกันบ่อยและต้องอธิบายกันยาว เพราะความดันต่ำนั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นความผิดปกติของแรงดันโลหิตที่มีค่าต่ำกว่าปกติ ซึ่งมักจะพบในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เช่น บาดเจ็บรุนแรงจนเสียเลือดมาก เสียน้ำและเกลือแร่มาก โลหิตเป็นพิษ หัวใจล้มเหลว หรือระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ เป็นต้น


บางกรณีก็พบในคนที่ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงแล้วได้รับยาลดความดันโลหิต จนทำให้ความดันลดต่ำลง ซึ่งอาจมีอาการหน้ามืดหรือเป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่าเป็นนั่งหรือยืน แต่ก็จะมีอาการอยู่เพียงชั่วครู่เท่านั้น

การรักษาความดันโลหิตต่ำจริงๆ นั้น จะใช้ยาเพิ่มความดันชนิดฉีดในกรณีฉุกเฉินและทำในโรงพยาบาล ดังนั้นคนไข้ที่ไปซื้อยาเพิ่มความดันมากิน อาจเป็นเหยื่อของการโฆษณาสรรพคุณยาที่เกินจริง
มีหลายคนไปหาหมอบ่อยๆ ด้วยอาการหน้ามืดตาลาย เวียนหัว มึนหัว ซึ่งเข้าข่ายอาการผิดปกติเล็กน้อยของระบบประสาททรงตัวประกอบกับความวิตกกังวล ถ้าไปเจอหมอบางคนที่ขี้เกียจอธิบายมาก อาจจะบอกว่าเป็น "โรคความดันต่ำ" หรือที่หนักไปกว่านั้นคือบอกว่า "เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ" ทั้งๆ ที่ไม่มีหลักฐานมาสนับสนุน


คนไข้บางคนยังดูแข็งแรง อยู่ในวัยหนุ่มสาว เอะอะอะไรก็ "เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ" เสียแล้ว ถ้าเป็นคนแก่ก็ว่าไปอย่าง แต่ถึงแม้เป็นคนแก่ ก็ต้องมีเหตุผลสนับสนุนและบ่งว่าสมองผิดปกติ เช่น พูดไม่ชัด เห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก ชา ชัก หรือเป็นอัมพาต ไม่ใช่แค่อาการ มึนงง เวียนศีรษะ ก็หาว่าความดันต่ำหรือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อย่างนี้ผู้เขียนเคยใช้คำว่า "โรคมั่ว" มาแล้ว

การพิจารณาค่าความดันโลหิตและการรักษานั้น ควรดูหลายอย่างประกอบกัน เช่นสภาพร่างกายและจิตใจ การวัดหลายๆ ครั้งในสภาวะที่ผ่อนคลาย รวมทั้งพิจารณาอาการพื้นฐานของร่างกายและความเจ็บป่วยประกอบกับตัวเลข ส่วนคนไข้ก็อย่าวิตกกังวลจนเกินเหตุ ควรพิสูจน์ให้แน่นอนโดยมีเหตุผลสนับสนุนอย่างเพียงพอว่าเป็นความดันสูงหรือความดันต่ำจริงๆ

รางจืด...ล้างพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช



ด้วยกระแสของการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ที่เกษตรกรต้องใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีจำนวนมากในการผลิต จากการสำรวจตัวอย่างเลือดของเกษตรกรของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีสารเคมีในกระแสเลือดอยู่มากว่าร้อยละ ๕๑ เพราะฉะนั้นจากเกษตรกร ๑๔.๑ ล้านคนจะพบ ๗ ล้านกว่าคนมีสารพิษฆ่าแมลงทั้งชนิดออร์กาโนฟอสเฟต (organophospjate) คาร์บาเมต (carbamate) และอาการที่เกิดขึ้นคือ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน ปวดเมื่อย และระบบสมองเสื่อมเร็ว รวมไปถึงการพัฒนาสู่การเป็นมะเร็ง ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้นับว่าเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขเลือกสมุนไพรรางจืดมาทำการรณรงค์เพื่อใช้ล้างพิษในกระแสเลือดให้เกษตรกร ซึ่งรางจืดเป็นสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยทั้งในห้องทดลองและการศึกษาในคนมากกว่า ๓๐ ปีแล้ว

โดยการศึกษาทางเภสัชวิทยาของรางจืดครั้งแรกเริ่มจากแพทย์หญิงพาณี เตชะเสน คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่ารางจืดสามารถช่วยชีวิต

รางจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thumbergia laurifolia Lindl

วงศ์ Acanthaceae

ชื่อสามัญ Laurel clockvine, blue trumphet vine

ชื่ออื่นๆ รางจืดมีมากมาย เช่น รางจืด รางเอางย็น ว่านรางจืด เถา ยาเขียว เครือเถาเขียว กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง (ภาคกลาง) ย้ำแย้ (อุตรดิตถ์) ฮางจืด ฮางเย็น เครือเข้าเย็น หนามแน่ (ภาคเหนือ) คาย (ยะลา) และดุเหว่า (ปัตตานี) เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thumbergia laurifolia Lindl.

ลักษณะพิช รางจืดเป็นไม้เถาสามารถเลื้อยไปตามพื้นดินหรือพาดพันขึ้นคลุมต้นไม้ใหญ่ๆ ได้ทั้งต้น เถามีลักษณะกลม สีเขียว เมื่อเถาแก่เป็นสีน้ำตาลมากขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้มออกเป็นคู่ตรงข้ามตรงข้อของลำต้น ใบมีลักษณะคล้ายใบย่านางรูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง ๔-๗ เซนติเมตร (ซม.) ยาว ๘-๑๕ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนเว้าหรือหยักรูปหัวใจ ขอบใบเรียบหรือหยักตื้น เส้นใบมี ๕ เส้น ออกฐานใบเดียวกัน

ดอกช่อ ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อละ ๓-๔ ดอก กลีบดอกแผ่ออกเป็นรูปแตร ปลายแยกเป็น ๕ แฉก โคนดอกเป็นหลอดกรวยยาวราว ๑ เซนติเมตร มักมีน้ำหวานบรรจุอยู่ในหลอด สีม่วงแกมน้ำเงิน ผลเป็นผลแห้งแล้วแตก ๒ ซึก จากจะงอยส่วนบน มักมีดอกในฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน-กุมพาพันธ์) ดอกที่โรยแล้วบางดอกอาจติดผล เมื่อแก่เปลือก ผลเป็นสีน้ำตาล แตกออกเป็น ๒ ซึก เมล็ดมีสีน้ำตาลมีปุ่มเล็กๆ คล้ายหนามอยู่บนเปลือกเมล็ด และสามารถนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อไปได้ แต่การขยายพันธุ์รางจืดส่วนใหญ่นิยมนำเถาแก่หรือใบมาปักชำมากกว่า

การกระจายพันธุ์ รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศแถบอินเดีย อินโดจีน ศรีลังกา พม่า ไทย มาเลเซีย อินโนดีเซีย ฟิลิปปินส์ มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน และไตหวัน

การขยายพันธุ์ นิยมใช้เถาในการปักชำ ในการชำเถา วิธีที่ดีที่สุดคือเลือกข้อแก่ๆ ของรางจืดที่ใบติดอยู่สอบใบมา ๑ ข้อ เด็ดใบออก ๑ ใบ นำไปชำในทรายหรือแกลบที่ไม่มีดิน รดน้ำให้ชุ่มจนรากงอก จากนั้นนำไปลงถุงเพาะชำ หรือเลือกเถาแก่มาตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ ๖-๘ นิ้ว ให้มีตาติดอยู่ ๒-๓ ตา ถ้าชำเถาในฤดูฝนจะออกรากเร็วกว่า

สารพิษฆ่าแมลง ทั้งชนิดออร์กาโนฟอสเฟส (organophostpate) คาร์บาเมต (carbamate) และอาการที่เกิดขึ้น คือ วิงเวียนศรีษะ อาเจียน ปวดเมื่อย และระบบสมองเสื่อมเร็ว รวมไปถึงการพัฒนาสู่การเป็นมะเร็ง ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้นับว่าเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขเลือกสมุนไพรรางจืดมาทำการรณรงค์เพื่อใช้ล้างพิษในกระแสเลือดให้เกษตรกร ซึ่งรางจืดเป็นสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยทั้งในห้องทดลองและการศึกษาในคนมากกว่า ๓๐ ปีแล้ว

โดยการศึกษาทางเภสัชวิทยาของรางจืดครั้งแรกเริ่มจากแพทย์หญิงพาณี เตชะเสน คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่ารางจืดสามารถช่วยชีวิตแมวของท่านที่ถูกวางยาพิษได้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ทำการศึกษาวิจัยรางจืดในการแก้พิษสารกำจัดศัตรูพืชตั้งแต่ พ.ศ ๒๕๒๒-๒๕๒๓ โดยเริ่มจากสารกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (เช่น โฟลิดอล พาราไทออน)

ต่อมามีการศึกษาพบว่ารางจืดยังสามารถลดพิษของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มคาร์บอเนต เช่น เมโทรมิล เป็นต้น

จากการศึกษาวิจัยการต้านฤทธิ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของรางจืดนั้นอาจเกิดจากหลายกลไก เช่น

สารสกัดรางจืดทำให้ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสเพิ่มขึ้น หรือลดการยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส ว ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้ทำหน้าที่ทำลายโคลีนที่เป็นสาร สื่อประสาท ที่ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ สารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอตเฟตและคาร์บาเมต จะไปทำลายเอนไซม์ตัวนี้ และเกิดการสะสมของโคลีนทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง นำสู่อาการชัก จากการศึกษาพบว่ารางจืดไปเพิ่มปริมาณของเอนไซม์ดังกล่าว

รางจืด...แก้พิษจากยาฆ่าหญ้า

ยาฆ่าหญ้าจำพวกพาราควอต นับเป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงต่อร่างกายมนุษย์มากที่สุดชนิดหนึ่งเนื่องจากในขนาดกินประมาณ ๑ ช้อนโต๊ะ ก็สามารถทำให้คนตายได้ โดยสารตัวนี้จะไปทำให้เกิดการสร้างออกซิเจนที่ไม่เสถึยรขึ้นอย่างมาก ออกซิเจนเหล่านี้จะไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์เกิดการออกซิเดชันของไขมันที่อยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์และทำให้เซลล์ตาย พิษของพาราควอตจะเห็นชัดที่สุดในปอดเพราะปอดเป็นบริเวณที่มีออกซิเจรมากที่สุด ซึ่งพาราควอตจะทำให้เนื้อเยื้อปอดถูกทำลายจนไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้จนเสียชีวิตในที่สุด

จากรายงานผู้ป่วยของโรงพยาบาลเจ้าพระ-ยา ยมราช จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บตัวอย่างเป็นเวลา ๓ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๕ มีผู้ป่วยที่กินพาราควอตมาที่โรงพยาบาล ๖๔ ราย พบว่ามีผู้ป่วยรอดชีวิต ๓๓ ราย เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังกับการรักษาในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๒ มีผู้ป่วยที่กินพาราควอต ๑๑ รายพบว่าเสียชีวิตทุกราย ซึ่งตัวเลขของโรงพยาบาลศิริราชที่มีการรักษาพิษพาราควอตเช่นเดียวกัน มีอัตราการตายประมาณร้อยละ ๘๐ แต่การรักษาพิษพาราควอตนั้นไม่ได้ให้แต่รางจืดอย่างเดียว แต่จะมีการทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาก่อนแล้วล้างท้องด้วยฟูลเลอร์สเอิร์ท (Fuller's earth) และทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะออกมามากๆ ให้แอนติออกซิแดนซ์หรือสารต้านอนุมูลอิสระ โดยการให้วิตามินซีปริมาณสูงๆ และสตีรอยด์ รวมทั้งการรักษาแบบประคับประคองอื่นๆ ให้ยาต้มรางจืด วิธีเตรียมคือนำใบแห้งหนัก ๓๐๐ กรัม ใส่ในน้ำสะอาด ๑ ลิตร ต้มในหมอดินโดยใช้ไฟกลางเดือนนาน ๑๕ นาที ทิ้งไว้ให้เย็น ให้ผู้ป่วยดื่มหรือให้ทาง NG tube ครั้งละ ๒๐๐ มิลลิลิตร ทุก ๒ ชั่วโมง ตลอดเวลาที่อยู่โรงพยาบาลแม้ว่ารายงานนี้ไม่ถือเป็นงานวิจัยแต่เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มาก

พ.ศ. ๒๕๔๓ มีรายงานการศึกษาสัตว์ทดลองเกี่ยวกับการต้านพิษพาราควอตของสารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืด พบว่าสามารถทำให้อัตราการตายของหนูทดลองลดลง รวมทั้งพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดรางจืดมีระดับพลาสม่า malondialdehyde (MDA) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แสดงว่าสารสกัดใบรางจืดมีฤทธิ์ยับยั้ง lipid peroxidation และฤทธิ์นี้เป็นกลไกการออกฤทธิ์ต้านพิษพาราควอตกลไกหนึ่งของรางจืด รวมทั้งรางจืดยังไปเพิ่มกิจกรรมของเอนไซม์ที่เรียกว่า NADPH quinineoxidonnereductase เป็นเอนไซม์ที่ย่อยสลายสารที่เรา ได้รับเข้าไปในร่างกาย
รางจืด...แก้พิษจากสัตว์ที่เป็นพิษและพืชพิษ

ใช้แก้พิษแมงดาทะเลเป็นอีกหนึ่งรายงานของการใช้รางจืดแก้พิษ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีครอบครัวหนึ่ง ๔ คนที่กินไข่แมงดาทะเล ๒ ราย มีอาการรุนแรงจนหมดสติต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งสารพิษที่อยู่ในแมงดาทะเล คือ เทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) สารนี้จะพบในแมงดาทะเลและปลาปักเป้า ซึ่งมีพิษทำให้ผู้ป่วยอาจถึงตายได้

ความรุนแรงของอาการพิษที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับปริมาณไข่แมงดาทะเลที่ได้รับ เริ่มแสดงอาการตั้งแต่ ๔๐ นาทีถึง ๔ ชั่วโมง ทุกรายมีอาการชารอบปาก คลื่นไส้ อาเจียน อาการชาจะลามไปยังกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ที่เป็นอันตรายคือทำให้หายใจไม่ได้ อาการรุนแรง หมดสติ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ วิธีการรักษาปัจจุบันไม่มีวิธีเฉพาะ ไม่มีสารแก้พิษโดยเฉพาะ ต้องรักษาแบบประคับประคองจนผู้ป่วยขับเอาสารนี้ออกจากร่างกายให้หมดแพทย์ผู้รักษาใช้รางจืดจากการร้องขอของญาติ เมื่อกรอกใส่สายยางลงไป ๔๐ นาที อาการดีขึ้น ซึ่งแพทย์ผู้รักษารู้สึกประทับใจกับรางจืดมากและบอกว่าจังหวัดที่อยู่ชายทะเลปีหนึ่งจะมีคนตายจากพิษแมงดาทะเลหรือปลาปักเป้าทุกปี ถ้าทุกโรงพยาบาลสามารถปลูกต้นนี้และใช้กับผู้ป่วยของตัวเองจะช่วยให้ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

รางจืด...สู้กับมลภาวะ ออกฤทธิ์ต้านพิษของตะกั่วต่อสมอง

ตะกั่วเป็นมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ที่มีรถติด มีโอกาสได้รับสารตะกั่วสูงกว่าคนทั่วไป พิษตะกั่วต่อร่างกายมี อยู่หลายระบบ ที่สำคัญคือสมอง เนื่องจากตะกั่วจะไปสะสมอยู่ในสมองส่วนฮิปโพแคมพัสซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ มีงานวิจัยออกว่ารางจืดแม้จะไม่ได้ช่วยลดระดับตะกั่วในเลือดของหนูที่เราให้ตะกั่วเข้าไป แต่ไปช่วยลดพิษของตะกั่วต่อความจำและการเรียนรู้ของหนู และทำให้เซลล์ประสาทตายน้อยลง ด้วยกลไกการต้านออกซิเดชัน โดยตัวของรางจืดเองและการไปช่วยรักษาระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง

รางจืดช่วยในการลด เลิกยาบ้า

จากการที่ชาวบ้านนำรางจืดมาแก้พิษยาเสพติดภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวทิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงได้ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดรางจืดต่อเซลล์สมอง พบว่ารางจืดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้ายกับสารเสพติดแอมเฟทามีน และโคเคน โดยทั่วไปเพิ่มการหลั่งโดพามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่หลั่งมากในขณะที่ผู้ป่วยได้รับสารแอมเฟทามีน รวมทั้งไปเพิ่ม activity ของเซลล์ประสาทในสมองส่วน nucleus accumbens , globus pallidus,amygdala,frontal cortex ,caudate putamen and hippocampus ที่เกี่ยวข้องกับ reward and locomotor behaviour ทำให้คาดว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดรางจืดอาจเกิดความพิงพอใจเช่นเดียวกับการรับยาเสพติด หากนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุรนทรายมาก จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งทีการรักษาด้วยสารสกัดสมุนไพรได้ผล

ราง...จืดต้านพิษเหล้า

จากการที่ประชาชนส่วนหนึ่งได้นำรางจืดมาใช้ในการต้านพิษสุรา เช่น ใช้เพื่อป้องกันหรือลดอาการเมาเหล้า คณะเภสัชศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ศึกษาวิจัยฤทธิ์ของรางจืดในการต้านพิษแอลกอฮอล์ต่อตับ พบว่าสารสกัดด้วยน้ำของรางจืดช่วย ป้องกันการตายของเซลล์ตับจากพิษของแอลกอฮอล์ ทั้งในหลอดทดลองและในหนูแรตทีได้รับแอลกอฮอล์ โดยทำให้ค่า AST,ALT ในพลาสม่าและไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับลดลง และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางจุลพยาธิวิทยาของตับเมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับเเอลกอฮอล์อย่างเดียว

เนื่องจากสารสกัดด้วยน้ำของรางจืดช่วยลดการเกิด heppatic lipid peroxidation ลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด และเพิ่มระดับเอนไซม์ alcohol dehydrogenase และ aldehyde dehydrogenase

ส่วนมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ศึกษาฤทธิ์ของรางจืดต่ออาการขาดเหล้า พบว่าสารสกัดรางจืดให้ผลลดภาวะซึมเศร้าและทำให้พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของหนูเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่ไม่มีผลลดความวิตกกังวล โดยสารสกัดราถงจืดช่วยลดการถูกทำลายเซลล์ประสาทของหนูเนื่องจากขาดเหล้าในสมองส่วน messolimbic dopaminergic system โดยเฉพาะที่บริเวณ nucleus accumbens และ ventral tegmental area

รางจืด...เพื่อคุณภาพชีวิตของโรคเรื้อรัง

การที่มีหมอยาพื้นบ้านจำนวนหนึ่งใช้รางจืดในการคุมเบาหวานและความดัน ซึ่งมีการทดลองที่สนับสนุนการใช้ดังกล่าวคือ ในหนูเบาหวานที่ได้รับน้ำต้มใบรางจืดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนน้ำคั้นใบรางจืดสดในขนาด ๕๐ มก./มล.ที่ให้หนูเบาหวานดื่มแทนน้ำนาน ๑๒ วัน ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

นอกจากนี้ ยังมีการทดลองพบว่าการให้สารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และทำให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้นบ้างแม้จะไม่สมบูรณ์ ในเรื่องของฤทธิ์ลดความดันนั้นพบว่าสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดแห้งมีผลทำให้ความดันโลหิตของหนูแรตลดลง โดยกลไกการออกฤทธิ์ส่วนหนึ่งอาจผ่าน Cholinergic receptor และทำให้หลอดเลือดแดงคลายตัว

หมายเหตุ : การใช้สมุนไพรในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันนี้พึงระลึกว่าต้องมีการรักษาร่วมไปกับแผนปัจจุบันและมีการวัดระดับน้ำตาลและระดับความดันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการศึกษายังอยู่ในขั้นตอนของสัตว์ทดลองเท่านั้น รวมทั้งต้องระมัดระวังการเกิดการเสริมฤทธิ์กันของตัวยาดังกล่าว

รางจืด… ต้าน แก้อักเสบ
การที่หมอยาพื้นบ้านนิยมใช้รางจืดมารักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น ผด ผื่นคัน แมลงกัดต่อย เริม งูสวัด มีการศึกษาว่ารางจืดมีฤทธิ์ต้านการอับเสบสูงกว่ามังคุดประมาณ ๒ เท่า(ทดสอบด้วยวิธี Carrageenan induced paw edema) ในหนูถีบจักรและยังมีความปลอดภัยสูงกว่าอีกด้วย นอกจากนั้นยังพบว่า สารสกัดรางจืดในรูปแบบของครีมสามารถลดการอักเสบได้ดีเท่ากับสตีรอยด์ครีม

รางจืด… กับมะเร็ง
รางจืดยังมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง โดยมีการศึกษาฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ กล่าวคือสารใดๆ มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์มีศักยภาพสูงสามารถก่อมะเร็งได้ แต่รางจืดมีฤทธิ์ต้านไม่ให้สารนั้นออกฤทธิ์ มีการศึกษาโดยให้หนูกินสารสกัดของกวาวเครือซึ่งกวาวเครือจะไปมีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวและการสร้างนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดง กล่าวคือนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดงจะเป็นก้อน ใหญ่ขึ้น และมีการแบ่งตัว นั่นคือกวาวเครือไปทำให้การเกิด micronuclei ของเม็ดเลือดแดงเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้าให้สัตว์ทดลองกินรางจืดร่วมด้วย พบว่าสามารถลดการเกิด micronuclei ได้ ซึ่งทั้งรางจืดแบบสดและแบบแห้งสามารถใช้ได้ผลเช่นกัน นับเป็นข้อดีอีกข้อหนึ่งของรางจืด

โดยพบว่าสารออกฤทธิ์อาจเป็นกรดฟีนอลิก ได้แก่ caffeic acid และ apigenin และสารกลุ่มคลอโรฟิลล์ ได้แก่ chlorophyll a, chlorophyll b, pheophorbide a และ pheophytin a ซึ่งสารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก

รางจืด… ผักพื้นบ้านที่มีความปลอดภัย
รางจืดเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงชนิดหนึ่ง ทั้งจากการที่ชาวบ้านกินยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผัก ใช้ลวกกิน แกงกิน เช่นเดียวกับผักพื้นบ้านทั่วๆ ไป

นอกจากนี้ ยังนิยมกินน้ำหวานจากดอกรางจืดที่บานอีกด้วย ในส่วนของการศึกษาวิจัย มีการศึกษาทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง โดยการศึกษา ๒๘ วันก็ไม่พบหนูตาย ไม่เกิดความผิดปกติในอวัยวะภายใน ต่อมามีการศึกษาระยะ ๖ เดือน ที่เรียกว่าการศึกษาพิษเรื้อรัง พบว่ามีค่าที่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในซีรั่มในเนื้อเยื่อของหนูไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มควบคุม เรียกว่ามีความปลอดภัย ค่าที่พบเปลี่ยนแปลงบางค่าหรือบิลิลูบินเพิ่มขึ้นแต่ก็อยู่ในช่วงค่าปกติ

อย่างไรก็ตาม การกินรางจืดปริมาณมากต่อเนื่องกัน มีคำเตือนว่าต้องมีการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงโลหิตวิทยาหรือเคมีคลินิกที่อาจเกิดขึ้น

บทสรุปแห่ง…รางจืด
จากประวัติการใช้ที่ยาวนานในแผ่นดินไทย ประกอบกับการศึกษาวิจัยที่บอกว่ามีความปลอดภัยและการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนการใช้ของคนโบราณร่วมกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนไปด้วย สารพิษและปัญหายาเสพติดทุกหย่อมหญ้าในขณะที่อีกทางต้องไปแก้ไขที่ต้นตอแห่งปัญหาเช่น การลดการใช้สารเคมี ในขณะเดียวกันก็ต้องหาทางช่วยเหลือเยียวยาปัญหาที่ยังดำรงอยู่ ขอเพียงแต่มีดินให้รากยึดหาอาหาร มีโครงให้เลื้อย รางจืดจะแตกใบแตกยอดเป็นยาสมุนไพรที่ใช้แสนง่าย เพียงแต่นำมาต้มมาชงกิน ฤาว่าในยามนี้ภูมิปัญญาไทยจะหวนกลับมาช่วยสังคม

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย



กล่าวถึงการค้นสาเหตุแห่งไข้ หรือการพยากรณ์โรคและไข้ต่างๆ โดยกล่าวถึงกองพิกัดสมุฎฐาน ๔ ประการคือ
ธาตุสมุฎฐาน
ฤดูสมุฎฐาน
อายุสมุฎฐาน
กาลสมุฎฐาน

สมุฎฐานทั้ง ๔ ประการนี้ แพทย์ทั้งหลายพึงเรียนรู้ไว้ให้แจ้ง เพราะเป็นที่ตั้งแห่งภุมิโรค และภูมิแพทย์ทั้งปวง
กองพิกัดสมุฎฐาน ๔ ประการมีดังนี้
ธาตุสมุฎฐาน แบ่งได้ ๔ กอง คือ
๑.๑ สมุฎฐานเตโชธาตุพิกัด - เป็นที่ตั้งแห่ง ธาตุไฟ ๔ จะวิปริตเป็นชาติจลนะภินนะ ก็ อาศัย พัทธปิตตะ(ดีในฝัก) อพัทธ ปิตตะ ( ดีนอกฝัก) กำเดา ( เปลวแห่งความร้อน)

๑.๒ สมุฎฐานวาโยธาตุพิกัด - เป็นที่ตั้งแห่ง ฉกาลวาโย( ธาตุลม ๖) ซึ่งจะวิปริตเป็น ชาติจลนะ ภินนะ ก็อาศัย หทัยวาตะ ( ลมที่หัวใจ) สัตถกะวาตะ ( ลมมีพิษ) สุมนาวาตะ ( ลมในเส้น)
๑.๓ สมุฎฐานอาโปธาตุพิกัด - เป็นที่ตั้งแห่ง ทวาทศอาโป ( ธาตุน้ำ ๑๒) ซึ่งจะวิปริตเป็นชาติจลนะ ภินนะ ก็อาศัย ศอ เสมหะ( เสมหะในลำคอ) อุระเสมหะ ( เสมหะในทรวงอก) คูถเสมหะ ( เสมหะที่ทวารหนัก)
๑.๔ สมุฎฐานปถวีธาตุพิกัด - เป็นที่ตั้งแห่ง วีสติปถวี ( ธาตุดิน ๒๐) ซึ่งจะวิปริตเป็นชาติจลนะ ภินนะ ก็อาศัย หทัยวัตถุ (ก้อนเนื้อหัวใจ) อุทริยะ( อาหารใหม่) กรีสะ(อาหารเก่า)

๒. ฤดูสมุฎฐาน มี ๒ ฤดู คือ ฤดู ๓ กับ ฤดู ๖
๒.๑ ฤดู ๓ ปีหนึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ฤดูๆละ ๔ เดือน คือ –
๒.๑.๑ คิมหันตฤดู ( ฤดูร้อน) นับแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๔ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ พิกัดปิตตะสมุฎฐานเป็นเหตุ
๒.๑.๒ วสันตฤดู ( ฤดูฝน) นับแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ พิกัดวาตะสมุฎฐานเป็นเหตุ
๒.๑.๓ เหมันตฤดู ( ฤดูหนาว) นับแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ พิกัดเสมหะสมุฎฐานเป็นเหตุ

๒.๒ ฤดู ๖ ปีหนึ่งแบ่งออกเป็น ๖ ฤดูๆละ ๒ เดือน คือ
๒.๒.๑ คิมหันตฤดู นับแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๔ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ เป็นพิกัดปิตตะสมุฎฐาน
เสมหะสมุฎฐานระคนให้เป็นเหตุ
๒.๒.๒ วสันตฤดู นับแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๖ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ เป็นพิกัดปิตตะสมุฎฐาน
วาตะสมุฎฐาน ระคนให้เป็นเหตุ
๒.๒.๓ วัสสานฤดู นับแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ เป็นพิกัดวาตะสมุฎฐาน
ปิตตะสมุฎฐานระคนให้เป็นเหตุ
๒.๒.๔ สะระทะฤดู นับแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๐ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ เป็นพิกัดวาตะสมุฎฐาน เสมหะสมุฎฐานระคนให้เป็นเหตุ
๒.๒.๕ เหมันตฤดู นับแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๒ เป็นพิกัดเสมหะสมุฎฐาน วาตะสมุฎฐานระคนให้เป็นเหตุ
๒.๒.๖ ศิริรฤดู นับแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ เป็นพิกัดเสมหะสมุฎฐาน
ปิตตะสมุฎฐาร ระคนให้เป็นเหตุ


๓. อายุสมุฎฐาน แบ่งออกได้ ๓ วัย ดังนี้-

๓.๑ ปฐมวัย ( พาลทารก ) ปฐมวัย(พาลทารก) คลอด-๑๖ ปี เสมหะเป็นเจ้าเรือน บังเกิดโรคมีกำลัง๑๒
องศาเป็น โรคให้ตั้ง เสมหะเป็นต้น วาตะเป็นที่สุด

๓.๒ มัชฌิมวัย ( พาลปานกลาง ) มัชฌิมวัย(พาลปานกลาง) ๑๖ปี-๓๐ ปี ปิตตะเป็นเจ้าเรือน
ถ้าบังเกิดโรคมีกำลัง ๗ องศา ถ้าเป็นไข้ ให้ตั้งปิตตะเป็นต้น เสมหะเป็นที่สุด

๓.๓ ปัจฉิมวัย ( พาลผู้เฒ่า ) ปัจฉิมวัย(พาลผู้เฒ่า) อายุ๓๐ ปี-จนถึงอายุขัย วาตะเป็นที่ตั้ง
ถ้าบังเกิดโรคมีกำลัง ๑๐ องศา ถ้าเป็นไข้ วาตะเป็นต้น ปิตตะเป็นที่สุด


๔. กาลสมุฎฐาน แบ่งออกได้เป็น ๒ กาล ( เฉพาะกาล ๓) มี

๔.๑ กาลกลางวัน ตั้งแต่ ย่ำรุ่ง - ๔โมงเช้า (๐๖.๐๐-๑๐.๐๐) พิกัดเสมหะกระทำ
๕ โมงเช้า - บ่าย ๒ โมง(๑๑.๐๐-๑๔.๐๐) พิกัดปิตะกระทำ
บ่าย๓โมง - ย่ำค่ำ (๑๕.๐๐-๑๘.๐๐) พิกัดวาตะกระทำ
๔.๒ กาลกลางคืน ย่ำค่ำ - ๔ ทุ่ม (๑๘.๐๐-๒๒.๐๐) พิกัดเสมหะกระทำ
๕ ทุ่ม - ๘ ทุ่ม (๒๓.๐๐-๐๒.๐๐) พิกัดปิตตะกระทำ
๙ทุ่ม - ย่ำรุ่ง (๐๓.๐๐-๐๖.๐๐) พิกัดวาตะกระทำ


ธาตุ ทั้ง ๔ พิการ
๑. เตโชธาตุ ๔ พิการ
๑.๑ ปริณามัคคีพิการ ( ไฟย่อยอาหาร) อาการให้ร้อนในอกในใจ ให้ไอเป็นมองคร่อ ให้ท้องขึ้นท้องพอง ผะอืดผะอม

๑.๒ ปรทัยหัคคีพิการ(ไฟร้อนระส่ำระสาย) อาการให้มือและเท้าเย็น ชีพจรเดินไม่สะดวก อีกประการหนึ่งให้ชีพจรขาดหลัก ๑ ก็ดี ๒ หลักก็ ดี บางทีให้เย็นเป็นน้ำ แต่ร้อนภายใน ให้รดน้ำมิได้ขาด บางทีให้เย็น แต่เหงื่อ ตกเป็นดังเมล็ด ข้าวโพด

๑.๓ ชีรณัคคีพิการ (ไฟทำให้แก่ชรา) ให้หน้าผากตึง นัยน์ตาดูไม่รุ้จักอะไร มองไม่เห็นแล้วกลับเห็น หูตึง แล้วกลับได้ยิน จมูกไม่รู้ กลิ่นแล้วกลับรู้ ลิ้นไม่รู้รสอาหารแล้วกลับรู้ กายไม่รู้สึกสัมผัสแล้วกลับรู้ อาการเปลี่ยนไปเปลี่ยน มา ด้วยว่าพญามัจจุราชมาประเล้าประโลมสัตว์ทั้งหลาย
๑.๔ สันตัปปัคคีพิการ ( ไฟอุ่นกาย ) ถ้าแตกเมื่อใด จะเยียวยามิได้เลย ตายเป็นเที่ยงแท้

ยาแก้เตโชธาตุพิการ

- ชื่อยากาลาธิจร ( โกฐปลา สอ/ ขิง สะค้าน ดี / แห้วหมู โมกมัน/ ชี เอ็น พัน เชย/)
โกฐพุงปลา โกฐสอ / ขิง สะค้าน ดีปลี / หัวแห้วหมู เปลือกโมกมัน / ผลผักชี ผลเอ็น อำพัน อบเชย
ยาทั้งนี้ เอาส่วนเท่ากัน บดเป็นผงละลายน้ำร้อนหรือน้ำผึ้งก็ได้ กินแก้เตโชธาตุพิการ
๒. วาโยธาตุ ๖ พิการ
๒.๑ อุทธังคมาวาตาพิการ (พัดจากปลายเท้าขึ้นศีรษะ) เมื่อพิการหรือแตก ทำให้มีอาการดิ้นรน มือเท้าขวักไขว่ ให้พลิกตัวไปมา ให้ทุรนทุราย ให้ หาวเรอบ่อยๆ
๒.๒ อโธคมาวาตาพิการ (พัดลงจากศีรษะถึงเท้า) เมื่อพิการหรือแตก อาการให้เมื่อยขบขัดทุกข้อทุกกระดูก ให้ยกมือยกเท้าไม่ไหว เจ็บปวด เป็นกำลัง
๒.๓ กุจฉิสยาวาตาพิการ (พัดในท้องนอกลำไส้) เมื่อพิการหรือแตก อาการให้ท้องขึ้นท้องพอง ให้ลั่นในท้องดังจ๊อกๆ ให้เจ็บในอก ให้ สวิงสวาย ให้เจ็บแดกขึ้นแดกลง
๒.๔ โฎฐาสยาวาตาพิการ ( พัดในลำไส้,ในกระเพาะอาหาร) เมื่อพิการหรือแตก อาการให้เหม็นข้าว อาเจียน จุกอก ให้เสียดและแน่นหน้าอก
๒.๕ อังคมังคานุสารีวาตาพิการ ( ลมพัดทั่วร่างกาย) เมื่อพิการหรือแตก อาการให้หูตึง เจรจาไม่ได้ยิน ให้เป็นหิ่งห้อยออกจากลูกตา ให้เมื่อย มือ และเท้าดังกระดูกจะแตก ให้ปวดในกระดูกสันหลังดังเป็นฝี ให้สะบัดร้อน สะท้านหนาว ให้คลื่นเหียนอาเจียนลมเปล่า
๒.๖ อัสสาสะปัสสาสะวาตาพิการ ( ลมหายใจเข้าออก) จะแตกหรือพิการไม่ได้ ลมอันนี้คือลมอันพัดให้หายใจเข้าออก ถ้าสิ้นลมหายใจเข้า และออก หรือลมหายใจเข้าออกขาดแล้วเมื่อใด ก็ตายเมื่อนั้น เมื่อจะตาย ให้หายใจสั้นเข้าๆ จนไม่ออกไม่เข้า
ยาแก้วาโยธาตุพิการ
ชื่อยา ฤทธิจร ( ว่านน้ำ ดี / แฝกหอม เปราะ / แห้วหมู ไทย )
ว่านน้ำ ดีปลี / แฝกหอม เปราะหอม / หัวแห้วหมู พริกไทย /
ยาทั้งนี้เอาส่วนเท่ากัน รากกระเทียมเท่ายาทั้งหลาย บดเป็นผงละลายน้ำร้อนหรือน้ำผึ้งก็ได้

๓. อาโปธาตุ ๑๒ พิการ

๓.๑ ปิตตังพิการ(น้ำดี) ถ้าพิการหรือแตก มีอาการให้หาสติมิได้ คลุ้มคลั่งเป็นบ้า
๓.๒ เสมหังพิการ(น้ำเสลด) ถ้าพิการหรือแตก ให้สะบัดร้อนสะท้านหนาว ให้จับไข้เป็นเวลา บางทีให้ลงเป็นโลหิตเสมหะ เน่า ให้ปวดมวน
๓.๓ ปุพโพพิการ(น้ำหนอง) ถ้าพิการหรือแตก อาการให้ไอเป็นกำลัง ให้กายซูบผอมหนัก ให้กินอาหารไม่รู้รส มักให้เป็น ฝีในท้อง
๓.๔ โลหิตังพิการ( น้ำเลือด) ถ้าพิการหรือแตกมีอาการดังนี้ คือ ให้นัยน์ตาแดงดังสายโลหิต ให้งงและหนักหน้าผาก เพราะ โลหิตบางทีให้ผุดภายนอกเป็นวงแดง เขียวหรือเหลือง กระทำพิษต่างๆ ให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง แพทย์สมมุติว่าเป็นไข้รากสาด หรือปานดำปานแดง ๆลๆ สมมุติเรียกชื่อต่างๆ เพราะโลหิตแตก กระจายซ่านออกตาผิวหนัง บางทีให้อาเจียน เป็นโลหิต หรือลงเป็นโลหิต บางทีให้โลหิตแล่น เข้าจับหัวใจ ทำให้คลุ่มคลั่งทุรนทุราย ให้ละเมอเพ้อพก หาสติมิได้ แพทย์สมมุติว่าสันนิบาต โลหิตก็ว่า บางทีให้ร้อนให้หนาว บางทีให้ชักเท้ากำมือ ให้ขัดหนักขัดเบา บางทีให้เบาออกมา เป็นสีต่างๆ โลหิตนี้ร้ายนัก แพทย์สมมุตุว่าเป็นไข้กำเดาโลหิต
๓.๕ เสโทพิการ(น้ำเหงื่อ) มีอาการให้เหงื่อแตกและตกหนักให้ตัวเย็น และให้ตัวขาวซีด สากชา ไปทั้งตัว สวิงสวายหากำลัง มิได้
๓.๖ อัสสุพิการ(น้าตา) มีอาการให้น้ำตาตกหนัก แล้วก็แห้งไป ให้ลูกตาเป็นดังเยื้อผลลำใย
๓.๗ เมโทพิการ(มันข้น) มีอาการให้ผิวหนังผุดเป็นวง บางทีแตกเป็นน้ำเหลือง ให้ปวดแสบ ปวดร้อนเป็นกำลัง
๓.๘ วสาพิการ(มันเหลว) มีอาการ ถ้าแตกกระจายออกทั่วตัว ให้ตัวเหลือง ตาเหลือง บางทีให้ลงและอาเจียนดังป่วงลม
๓.๙ เขโฬพิการ(น้ำลาย) มีอาการให้ปากเปื่อย คอเปื่อย น้ำลายเหนียว บางทีเป็นเม็ดยอดขึ้นในคอ ในลิ้น ทำพิษต่างๆ
๓.๑๐ สิงฆานิการ พิการ(น้ำมูก)มีอาการให้ปวดในสมอง ให้น้ำมูกไหล ตามัว ให้ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ
๓.๑๑ ลสิกาพิการ(ไขข้อ) มีอาการกระทำให้เมื่อยในข้อในกระดูก ดุจดังจะคลาดจากกัน ให้ขัดตึงทุกข้อ แก้ยาก เพราะอยู่ ในกระดูก
๓.๑๒ มุตตังพิการ(น้ำปัสสาวะ) มีอาการให้ปัสสาวะวิปลาส ให้น้ำปัสสาวะสีแดง สีเหืองดังขมิ้น บางทีขาวดังน้ำขาวเช็ด ให้ขัด เบา ขัดหัวเหน่า หัวเหน่าฟก บางทีเป็นมุตกิต มุตฆาต กาฬขึ้นในมูตร ให้มูตรแปรไปต่างๆ
ยาแก้อาโปธาตุพิการ ( ลังกา สอ สมุลแว้ง/ ขิง ค้าน ดี/ ลุกผักชี ตูมอ่อน ลังกาสา/แห้วหมู โมกมัน / เพลิง คัด ขัดมอน/พิ ภี บัว บุน/ )
กกลังกา โกฐสอ สมุลแว้ง / ขิงแห้ง สะค้าน ดีปลี / ลูกผักชี ลูกมะตูมอ่อน ลูกพิลังกาสา / หัวแห้วหมู
เปลือกโมกมัน / ราก เจตมูลเพลิง รากคัดเค้า รากขัดมอน / ดอกพิกุล ดอกสารภี เกสรบัวหลวง ดอกบุนนาค
เอาส่วนเท่ากัน ต้ม ๓ เอา ๑

๔. ปถวีธาตุ ๒๐ พิการ

๔.๑ เกศาพิการ(ผม) ให้เจ็บสมองศีรษะ ให้ชา ให้ผมร่วงหล่น
๔.๒ โลมาพิการ (ขน) ให้เจ็บทุกเส้นขนทั่วสรรพางค์กาย
๔.๓ นขาพิการ(เล็บ) ให้ต้นเล็บเจ็บช้ำดำเขียว บางทีให้ฟกบวม คือเป็นตะมอยหัวดาวหัวเดือน กลางเดือน บางทีให้เจ็บช้ำ เลือดช้ำหนอง ให้เจ็บปวดเป็นกำลัง
๔.๔ ทันตพิการ(ฟัน) ให้เจ็บปวดฟกบวมเป็นกำลัง ถึงฟันหลุดแล้วก็ดี มักเป็นไปตามประเพณีสังสารวัฎ ให้เจ็บฟันและ ไรฟัน ไรเหงือก ตลอดสมอง ถ้าฟันยิงมิหลุดมิถอน ก็ให้แก้ตามขบวนการรำมะนาดนั้นเถิด
๔.๕ ตะโจพิการ(หนัง) ให้หนังสากชาทั้งตัว แม้แมลงวันจะจับหนือไต่ที่ตัว ก็ไม่รู้สึกให้แสบร้อน เป็นกำลัง เรียกว่า กระมี โทษ
๔.๖ มังสังพิการ(เนื้อ) เนื้อประมาณ ๕๐๐ ชิ้น พิการให้เสียวซ่านไปทั่วทั้งตัว มีกให้ฟกให้บวม ไม่เป็นที่ให้เป็นพิษ บางทีให้ ร้อนดังไฟลวก บางทีให้ฟกขึ้นดังประกายดาษ ประกายเพลิง
๔.๗ นหารูพิการ(เส้นเอ็น)เส้นประธาน ๑๐ เส้น เส้นบริวาร ๒,๗๐๐ เส้นพิการ ให้หวาดหวั่นไหวไปทั่วทั้งกาย ที่กล้าก็กล้า ที่ แข็งก็แข็ง ที่ตั้งดานก็ตั้งดาน ที่ขอดก็ขอด เป็นก้อนเป็นเถาไป ที่จะให้โทษหนักนั่นคือ เส้นสุมนาและ เส้นอัม พฤกษ์ เส้นสุมนา ผูกดวงใจสวิงสวายทุรนทุราย หิวหาแรงมิได้ เส้นอัมพฤกษ์ให้ กระสับกระส่าย ให้ร้อนให้เย็น ให้เมื่อยให้เสียวไปทุกเส้นเอ็นทั่วตัว ตั้งแต่ศีรษะตลอดถึงเท้า บางที ให้เจ็บเป็นเวลา
๔.๘ อัฎฐิพิการ(กระดูก) กระดูก ๓๐๐ ท่อน พิการก็ดี แตกก็ดี น้ำมันซึ่งจุกอยุ่ในข้อนั้น ละลายออกแล้ว ให้เจ็บปวดกระดูก ดุจ ดังจะเคลื่อนคลาดออกจากกัน
๔.๙ อัฎฐิมิฌชังพิการ(เยื่อในกระดูก) ให้ปวดตามแท่งกระดูก
๔.๑๐ วักกังพิการ(ม้าม) ให้ม้ามหย่อน มักเป็นป้าง
๔.๑๑ หทยังพิการ(หัวใจ) มักให้เป็นบ้า ถ้ายังอ่อนอยู่ให้ดุ้มดีคุ้มร้าย มักขึ้งโกรธ บางทีให้ระส่ำระสาย ให้หิวโหยหาแรงมิได้
๔.๑๒ ยกนังพิการ(ตับ) เมื่อพิการ เป็นโทษ ๔ ปราการ ล่วงเข้าลักษณะอติสาร คือ กาฬผุดขึ้นในตับ ให้ตับหย่อน ตับทรุด บางทีเป็นฝีในตับ ให้ลงเป็นเลือดสดๆ ออกมา อันนี้คืออาฬมูตรผุดขึ้น ดันลิ้นกินอยู่ในตับ ให้ลงเป็น เสมหะ โลหิตเน่า ปวดมวนเป็นกำลัง ให้ลงวันละ ๒๐ หรือ ๓๐ หน ให้ตาแข็งและแดงเป็นสายเลือด
๔.๑๓ กิโลมกังพิการ(พังผืด) มักให้อกแห้ง กระหายน้ำ อันนี้คือโรคริดสีดวงแห้งนั้นเอง
๔.๑๔ ปิหกังพิการ(ไต) ให้ขัดอก ท้องขึ้นท้องพอง ให้แน่นในอกในท้อง กินอาหารไม่ได้
๔.๑๕ ปัปผาสังพิการ(ปอด) อาการเป็นดุจดังไข้พิษ กาฬขึ้นในปอด ให้ร้อนในอก กระหายน้ำหอบดุจดังสุนัขหอบแดด จน โครงลด ให้กินน้ำจนปอดลอยจึงหายอยาก บางทีกินจนอาเจียนน้ำออกมา จึงหายอยาก
๔.๑๖ อันตังพิการ(ลำไส้ใหญ่) ให้วิงเวียนหน้าตา จะลุกขึ้นให้หาวเรอ ให้ขัดอก และเสียดสีข้างให้เจ็บหลังเจ็บเอว ให้ไอ เสมหะ ขึ้นคอ ให้ร้อนคอร้อนท้องน้อย มักให้เป็นลมเรอโอ๊ก ให้ตกเลือดตกหนอง
๔.๑๗ อันตคุนัง(ลำไส้น้อย) ให้กินอาหารผิดสำแดง ให้ปวดท้อง ให้ขัดอก บางทีให้ลงให้อาเจียน อันนี้คือลมกัมมัชวาตพัดเอา แผ่นเสมหะให้เป็นดาน กลับเข้าในท้องในทรวงอก ก็ตัดอาหาร ท่านว่าไส้ตีบไป
๔.๑๘ อุทริยังพิการ(อาหารใหม่)อาการกินข้าวอิ่มเมื่อใด มักให้ร้อนท้องนัก บางทีลงดุจกินยารุ บางทีให้สะอึก ขัดหัวอก ให้จุก เสียดตามชายโครง ผะอืดผะอม สมมุติว่าไฟธาตุนั้นหย่อน โรคทั้งนี้ย่อมให้โทษ เพราะอาหารไม่
ควรกิน นั้นอย่างหนึ่ง กินอาหาร ดิบอย่างหนึ่ง ลมในท้องพัดไม่ตลอด มักให้แปรไปต่างๆ บางทีลง ท้อง บางทีผุกเป็นพรรดึก ให้แดกขึ้นแดกลง กินอาหารไม่ได้
๔.๑๙ กริสังพิการ(อาหารเก่า) คือซางโขมยกินลำไส้ ถ้าพ้นกำหนดซางแล้ว ถือว่าเป็นริดสีดวง
๔.๒๐ มัตเกมัตถลุงกังพิการ(มันสมอง) ให้เจ็บกระบาลศีรษะดังจะแตก ให้ตามัว หูตึง ปากและจมูกชึกขึ้นเป็นเฟ็ดไป ลิ้นกระด้าง คางแข็ง ลักษณะดังนี้ เดิมเมื่อจะเป็น เป็นเพราะโทษแห่งลมปะกัง ให้ปวดหัวเป็นกำลัง ถ้าแก้มิฟังตาย
ยาแก้ปถวีธาตุพิการ ( สมอง กระดูก ม้าม)
เบญจกูล ตรีกฎุก/ เทียม เดา ทีสอ/ ลูก-ดอกจันทน์ จันทน์ทั้ง๒/ วาน พลู แว้ง/ สมอทั้ง๓ ตีนเป็ด กันเกรา/
เบญจกูล๑ ตรีกฎุก๑ / กระเทียม ๑ ใบสะเดา๑ ใบคนทีสอ๑ / ลูกจันทน์๑ ดอกจันทน์๑ จันทน์ทั้ง๒(๑) / กระวาน๑ กานพลู๑ สมุลแว้ง๓ / สมอทั้งสาม ๑ เปลือกตีนเป็ด๑ เปลือกกันเกรา(๒) /

ยาแก้หัวใจพิการ ชื่อยา มูลจิตใหญ่ ( ทีสอ หัศคุณ ลิงปลิง/ จันทน์๒ ดี / ข้าวเปลือก ตั๊กแตน ทาโร/)
ผลคนทีสอ ใบสหัศคุณ ผลตะลิงปลิง / จันทน์ทั้งสอง ดีปลี / เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทพทาโร /
เอาส่วนเท่ากัน บดปั้นแท่ง ละลายน้ำดอกไม้ แทรกพิมเสน

คัมภีร์ไพจิตร์มหาวงศ์


ว่าด้วยลักษณะแ ละประเภทต่างๆของฝี
     ๑.   ลักษณะฝียอดเดียวชนิดหงายประเภทที่ ๑

           
จะมีอาการและประเภทต่างกัน  บางทีทำให้ร้อน ทำให้หนาว  บางทีกระทำให้คลุ้มคลั่งหาสติมิได้  ให้ขนลุกขนชัน  ให้เนื้อเต้น  ให้ตา แดงเป็นสายโลหิต
     ๒.   ลักษณะฝียอดเดียวชนิดหงายประเภทที่๒

           
ถ้าบังเกิดขึ้นในเดือน ๕-๖-๗-๘-๙-๑๐   เกิดเพื่อดี  ลม  เสมหะระคนกัน  มักจะขึ้นในคอและนอกคอก็มี  เกิดในต้นคางก็มี กกหู รักแร้ ไหล่ อก  ก็ดี  ขึ้นข้างซ้ายตัวเมีย  ขึ้นข้างขวาตัวผู้   ถ้าน้ำแดงเกิดเพื่อดีและโลหิต  ถ้าน้ำขาวเกิดเพื่อเสมหะ ซึ่งมีอาการและประเภทต่างๆ กัน

  
    ๓.   ลักษณะฝียอดเดียวคว่ำ ประเภทที่๑

          
มีอาการและประเภทต่างๆกัน  บางทีให้จับเซื่อมมึน บางทีให้ร้อนกระหายน้ำ  หอบ สะอึก บางทีให้จุกเสียด บางทีให้ชัก  มือกำเท้ากำ   มือสั่น  บางทีให้ปวดแสบปวดร้อน เป็นกำลัง
     ๔.   ลักษณะฝียอดเดียวคว่ำประเภทที่ ๒

           
ถ้าบังเกิดในเดือน ๑๑-๑๒-๑-๒-๓-๔ คือบังเกิดเพื่อลม น้ำเหลือง กำเดาระคนกัน มักขึ้นกระหม่อม ลำตัว สันหลัง ขึ้นขาทั้ง ๒ ก็ดี ขึ้นใต้ ศอก รักแร้ ไหล่ ทั้ง ๒ ก็ดี เป็นผื่นขึ้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง มีอาการและประเภทต่างๆกัน

คัมภีร์ตักศิลา



คัมภีร์ตักศิลา เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงลักษณะ อาการ การรักษา ไข้พิษ ไข้กาฬ ต่างๆ ซึ่งจำแนกไว้หลายอย่าง
โรคไข้พิษไข้กาฬต่างๆ ที่กล่าวในพระคัมภีร์ตักศิลา มีดังนี้

1. ไข้พิษไข้กาฬ 21 จำพวก
2. ไข้รากสาด(ไข้กาฬ) 9 จำพวก
3. ไข้ประดง(ไข้กาฬแทรกไข้พิษ) 8 จำพวก
4. ไข้กาฬ 10 จำพวก
5. ฝีกาฬ(เกิดในไข้พิษ) 10 จำพวก
6. ไข้กระโดง(ไข้กาฬ) 9 จำพวก
7. ฝีกาฬ 6 จำพวก
8. ไข้คดไข้แหงน 2 จำพวก
9. ไข้หวัด 2 จำพวก
10. ไข้กำเดา 2 จำพวก
11. ไข้ 3 ฤดู 3 จำพวก

ลักษณะอาการไข้พิษไข้กาฬ

ลักษณะการผุด เกิดขึ้นมาบางทีไม่เจ็บ ไข้ไม่สบายอยู่เป็นปกติ ไข้เกิดภายใน ให้ผุดเป็นแผ่น เป็นเม็ดสีแดง สีดำ สีเขียวก็มี เป็นทรายทั่วทั้งตัวก็มี ผุดได้ 1 วัน 2 วัน 3 วัน จึงล้มไข้ และใน 1 วัน 2 วัน 3 วันนั้น ทำพิษต่างๆ ผุดขึ้นเป็นแผ่น เป็นวง เป็นเม็ดทรายขึ้นมาเป็นสีแดง สีดำ สีเขี่ยว สีคราม เป็นรอดบ้าง ตายบ้าง ให้แพทย์ให้ยากระทุ้งพิษไข้นั้นให้สิ้น
ไข้พิษไข้กาฬต่างๆ ที่กล่าวในพระคัมภีร์ตักศิลา มีดังนี้

หมายเหตุ - ไข้พิษ ไข้นี้ก็ได้เค้าตามชื่อ แต่เพียงว่า ไข้มีอาการเป็นพิษ เช่นตัวร้อนมาก เพ้อมาก ซึมมากกระสับกระส่ายมาก  หรือตายกันมาก  ก็เรียกไข้พิษ ซึ่งอาจเป็น
ไข้จับสั่น ไข้รากสาด(ไทฟอยด์)  ไข้ปอดบวม(นิวมอเนีย)  กาฬโรค, ไข้โลหิตเป็นพิษ   ไข้โลหิตมีเชื้อ  ก็ได้

ไข้กาฬ - ไข้จำพวกนี้ หมายถึงไข้ที่มีเม็ดตุ่ม หรือมีผื่นขึ้นตามตัว โบราณแบ่งไว้ 10 อย่าง ไข้จำพวกนี้ คงตรงกับทางปัจจุบันเรียกว่า Eruptive fever คือไข้มีผื่น

1. ไข้พิษไข้กาฬ 21 จำพวก ( อีดำ อีแดง/ปานดำ ปานแดง/มหาเมฆ มหานิล/ดานหิน กระดานหิน/ ระบุชาด สายฟ้าฟาด/ ไฟเดือนห้า เปลวไฟฟ้า/ข้าวไหม้น้อย ข้าวไหม้ใหญ่ / สังาลย์พระอินทร์ ไหม้ใบเกรียม / ดาวเรือง หงส์ระทด /จันท สุริย เมฆสูตร)

1.1 ไข้อีดำ ลักษณะ ผุดเป็นแผ่นเท่าใบเทียน ใบพุทรา ขึ้นทั้งตัวสีดำ
อาการ ให้จับเท้าเย็นมือเย็น ตัวร้อนเป็นเปลวเพลิง ตาแดงดังโลหิต ปวดศีรษะ ร้อนเป็นตอนเย็นเป็น ตอนไม่เสมอกัน

1.2 ไข้อีแดง ไข้อีแดง ผุดขึ้นมาเหมือนไข้อีดำ คือผุดเป็นแผ่นเท่าใบเทียน ใบพุทรา ขึ้นทั้งตัว แต่เป็นเม็ดสีแดง
อาการ เหมือนไข้อีดำ แต่อาการเบากว่า

1.3 ไข้ปานดำ ลักษณะ ผุดขึ้นมาเท่าวงสะบ้ามอญ ใบพุทรา สีดำ ขึ้นมาครึ่งตัว
อาการ จับเท้าเย็นมือเย็น บางทีมือร้อน เท้าร้อน ตัวร้อนเป็นเปลว ปวดศีรษะ ตาแดง ร้อนในอก เซื่อมซึม


ให้แพทย ์ใช้ยากระทุ้งพิษให้สิ้น โดยใช้ยาชื่อ แก้ว5ดวง(ยา 5 ราก) ดังนี้

ยากระทุ้งพิษขนานที่ 1 ( ยาแก้ว 5 ดวง) (นางคนทา กับเท้ายายม่อม ชิง ชุมพร )
1. รากย่านาง
2. รากคนทา
3. รากเท้ายายม่อย
4. รากชิงชี่
5. รากมะเดื่อชุมพร

เอาสิ่งละเสมอภาคกัน ต้มกิน รับประทานครั้งละ 2- 3 ช้อนโต๊ะ ห่างกันประมาณ 3 ชม.ต่อครั้ง สรรพคุณกระทุ้งไข้พิษ

พระคัมภีร์โรคนิทาน

คัมภีร์โรคนิทาน
     ในคัมภีร์พระบรมอรรถธรรม ว่าด้วยคนจะถึงความมรณะสิ้นอายุ เทวทูตในธาตุทั้ง ๔ ก็สำแดงออกมาให้ปรากฏโดยมโนทวารอินทรีย์ ธาตุ อันใดจะขาด จะหย่อน จะพิการ อันตรธานประการใดก็ดี มีแจ้งอยู่ในคัมภีร์มรณะญาณสูตรแล้ว 
     ความมรณะ แบ่งออกเป้น ๒ อย่างคือ

๑   มรณะด้วยโบราณโรค
๒.  มรณะด้วยปัจจุบันโรค

     ๑.   มรณะด้วยโบราณโรค คือ ตายโดยปกติ ตายโดยลำดับขันธ์ชวนะเร็ว ธาตุทั้ง ๔ ล่วงไปตามลำดับ โดยกำหนดสิ้นอายุปริโยสานเป็น ปกติ   ธาตุทั้ง ๔ อันตรธานสูญหายเป็นลำดับกันไปคือ ธาตุดิน ๒๐ ธาตุน้ำ ๑๒ ธาตุลม ๖ ธาตุไฟ ๔   เมื่อจะอันตรธานนั้นหาสูญพร้อมกันที เดียวทั้ง ๔ ธาตุไม่   ย่อมสูญไป ขาดไป แต่ละ ๒ สิ่ง ๓ สิ่ง ๔ สิ่งก็มี บางทีธาตุดินขาดก่อนธาตุน้ำ ธาตุลมขาดก่อนธาตุไฟ และเมื่อจะสิ้นอายุ ดับสูญนั้น
     ปถวีธาตุ      ๒๐      ขาดไป   ๑๙    หทยัง  ยังอยู่
     อาโปธาตุ     ๑๒      ขาดไป    ๑๑    น้ำลาย  ยังอยู่
     วาโยธาตุ       ๖       ขาดไป     ๕     ลมหายใจเข้าออกยังอยู่
     เตโชธาตุ       ๔       ขาดไป     ๓     ไฟอุ่นกายยังอยุ่

     ถ้าธาตุทั้งหลายสูญสิ้นไปดังกล่าวมานี้ อาการตัดทีเดียว รักษาไม่ได้ หากธาตุทั้ง ๔ หย่อนไป แต่ละสิ่ง สองสิ่ง ก็ยังรักษาได้
     ๒.   มรณะด้วยปัจจุบันโรค คือโอปักกะมิกาพาธ ถูกทุบถองโบยตีบอบช้ำ และต้องราชอาญา ของพระมหากษัตริย์ ให้ประหารด้วยหอก ดาบ ปืน ไฟ ก็ตายอุจเดียวกัน 

ธาตุทั้ง ๔ พิการตามฤดู
๑. เตโชธาตุพิการ เตโชธาตุชื่อสันตัปปัคคีพิการ ( เดือน ๕, ๖, และ ๗) อาการให้เย็นในอก กินอาหารพลันอิ่ม มักให้จุกเสียด ขัดอก อาหาร พลันแหลก มักอยากบ่อย จึงให้เกิดลม ๖ จำพวก คือ
     ๑.๑   ลมอุตะรันตะ        พัดแต่สะดือถึงลำคอ
     ๑๒   ลมปิตตะรันตะ       ให้ขัดแต่อกถึงลำคอ
     ๑.๓  ลมอัสวาตะ           ให้ขัดจมูก
     ๑.๔  ลมปรามาศ           ให้หายใจขัดอก
     ๑.๕  ลมอนุวาตะ           ให้หายใจขาดไป
     ๑.๖  ลมมหาสดมภ์         ลมจับนิ่งไป

๒.   วาโยธาตุพิการ ( เดือน ๘, ๙, และ ๑๐ ) อาการให้ผอมเหลือง ครั้นตัว เมื่อยทุกข้อ ทุกลำ ให้แดกขึ้นแดกลง ลั่นโครก มักให้หาวเรอ วิงเวียนหน้าตา ร้อนในอก รันทด รันทวยกาย หายใจสั่น ให้เหม็นปาก หวานปากตัวเอง โลหิตออกจากปาก จมูก หู กินอาหารไม่รู้รส
๓.   อาโปธาตุพิการ  ( เดือน ๑๑, ๑๒, และ ๑ )   กินผักอละอาหารทั้งปวงผิดสำแดง
      ๓.๑   ดีพิการ     มักขึ้งโกรธ มักสะดุ้งใจ
      ๓.๒   เสมหะพิการ  กินอาหารไม่รู้รส
      ๓.๓   หนองพิการ  มักให้เป็นหืด ไอ
      ๓.๔   โลหิตพิการ  มักให้คลั่ง เพ้อพก ให้ร้อน
      ๓.๕   เหงื่อพิการ  มักให้เซื่อมซึม
      ๓.๖    มันข้นพิการ  มักให้ตัวชาสากไป
      ๓.๗   น้ำตาพิการ  มักให้ปวดศีรษะ เจ็บตา
      ๓.๘   มันเหลวพิการ  มัให้บวมมือ บวมเท้า เป็นน้ำเหลืองตก มักให้ผอมแห้ง
      ๓.๙   น้ำลายพิการ  มักให้เป็นไข้ มักให้คอแห้ง และฟันแห้ง
      ๓.๑๐ น้ำมูกพิการ  มักให้ปวดศีรษะ
      ๓.๑๑ ไขข้อพิการ  มักให้เมื่อยทุกข้อทุกกระดูก
      ๓.๑๒ มูตรพิการ  ให้ปัสสาวะแดง ขัดปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นโลหิต ปวดเจ็บเนืองๆ

๔.   ปถวีธาตุพิการ ( เดือน ๒, ๓, และ ๔) เป็นด้วยนอนผิดเวลา
      ๔.๑   ผมพิการ  ให้คันศีรษะ มักเป็นรังแค ให้เจ็บหนังศีรษะเนืองๆ
      ๔.๒   ขนพิการ  มักให้เจ็บทั่วสรรพางค์กาย ทุกขุมขน ให้ขนลุกพอง ทั้งตัว
      ๔.๓   เล็บพิการ  มักให้เจ็บต้นเล็บ ให้ต้นเล็บเขียว ต้นเล็บดำ ช้ำโลหิต ให้เจ็บๆ เสียวๆ นิ้วมือ นิ้วเท้า
      ๔.๔   ฟันพิการ  มักให้เจ็บไรฟัน บางทีให้เป็นฝี รำมะนาด  บางทีให้เป็นโลหิตไหลออกทางไรฟัน ให้ฟันคลอน ฟันโยก ฟันถอนออก
      ๔.๕   หนังพิการ  ให้ร้อนผิวหนัง ทั่วสรรพางค์กาย บางทีให้เป็นผื่นดุจเป์นผด ให้แสบร้อนอยู่เนืองๆ
      ๔.๖    เนื้อพิการ  มักให้นอนสะดุ้ง ไม่หลับสนิท มักให้ฟกบวม บางทีให้เป็นวง ผุดขึ้นเป็น หัวดำ หัวแดง หัวเขียวทั้งตัว บางทีเป็น               ดุจลมพิษ สมมุตว่าเป็นประดง เหือด หัด ต่างๆ
      ๔.๗   เอ็นพิการ  มักให้เจ็บสะบัดร้อน สะท้านหนาว ให้ปวดศีรษะ ท่านเรียกว่า ลม อัมพฤกษ์กำเริบ
      ๔.๘   กระดูกพิการ  ทำให้เมื่อยขบ ทุกข้อ ทุกกระดูก
      ๔.๙   สมองกระดูกพิการ  ทำให้ปวดศีรษะนืองๆ
      ๔.๑๐ ม้ามพิการ  มักให้ม้ามหย่อน
      ๔.๑๑ หฤทัยพิการ  ทำให้คลุ้มคลั่งดุจเป็นบ้า ถ้ามิฉะนั้น ให้หิวโหย หาแรงมิได้ ให้ทุรนทุราย ยิ่งนัก
      ๔.๑๒ ตับพิการ  ให้ตับโต ตับทรุด เป็นฝีในตับ และตับพิการต่างๆ
      ๔.๑๓ พังผืดพิการ  ให้เจ็บ ให้อาเจียน จุกเสียด กลับเข้าเป้นเพื่อลม
      ๔.๑๔ ไตพิการ  มักให้ปวดท้อง แดกขึ้นแดกลง ปวดขบอยู่เนืองๆ
      ๔.๑๕ ปอดพิการ  มักให้ปวกศีรษะเป็นพิษ กระหายน้ำอยุ่เนืองๆ
      ๔.๑๖ ไส้ใหญ่พิการ  มักให้สะอึก ให้หาว ให้เรอ
      ๔.๑๗ ไส้น้อยพิการ  มักให้ผะอืด ผะอม ท้องขึ้นท้องพอง มักเป้นท้องมาร กระษัย บางทีให้ลงท้อง ตกมูกเลือด เป็นไปต่างๆ
      ๔.๑๘ อาหารใหม่พิการ  มักให้ลงท้อง ลงแดง มักให้อาเจียน และมักให้เป็นป่วง ๗ จำพวก
      ๔.๑๙ อาหารเก่าพิการ  มักให้กินอาหารไม่รู้รส เป้นต้น ที่จะให้เกิดโรคต่างๆ เพราะอาหารแปลกสำแดง
      ๔.๒๐ มันสมองพิการ  ให้ปวดศีรษะ ให้ตาแดง ให้คลั่ง เรียกสันนิบาตต่อกันกับลม 


ลักษณะเตโชธาตุแตก 
๑.     เตโชธาตุชื่อ ปริณามัคคีแตก  ให้ขัดในอกในใจ ให้บวมเมือ บวมเท้า ให้ไอ เป็นมองคร่อ
๒.     เตโชธาตุชื่อ ปริทัยหัคคีแตก  มักให้มือเท้าเย็น ชีพจรไม่เดิน บางทีให้ตัวเย็นดุจน้ำ แต่ภายในร้อน ให้รดน้ำอยุ่มิได้ขาด บางทีให้ตัวเย็น และ ให้เสโทตกดุจเมล็ดข้าวโพด
๓     เตโชธาตุ ชื่อชีรณัคคีแตก คือความชรานำพญามัจจุราช มาเล้าโลมสัตว์ทั้งปวง จะให้ชีวิตออจากร่างกาย นั้น ก็ให้คนไข้มีกายวิปริตต่างๆ คือ ให้หน้าผากตึง ตาไม่รู้จักหน้าคน แล้วกลับรู้จักอีก กายนั้นสัมผัสสิ่งใด ก็ไม่รู้สึกตัว แล้วกลับรู้สึกอีก
๔.    เตโชธาตุชื่อ สันตัปปัคคีแตก เมื่อใด แก้ไม่ได้ ตายแล
 

    ลักษณะวาโยธาตุแตก
๑     ลมอุทธังคมาวาตาแตก   มักให้ดิ้นรน มือเท้าขวักไขว่ ให้พลิกตัวไปมา ทุรนทุราย ให้เรอบ่อยๆ
๒.    ลมอโธมาวาตาแตก  ให้ยกมือยกเท้าไม่ได้ ให้เมื่อยขบทุกข้อทุกกระดูก ให้เจ็บปวดยิ่งนัก
๓.    ลมกุจฉิสยาวาตาแตก มักให้ท้องขึ้นท้องลั่น ให้เจ็บในอก ให้สวิงสวาย ให้แดกขึ้นแดกลง
๔.    ลมโกฏฐาสยาวาตาแตก ให้เหม็นคาวคอ ให้อาเจียน ให้จุกเสียด ให้แดในอก
๕.    ลมอังคมังคานุสารีวาตาแตก ให้หูตึง  เจรจาไม่ได้ยิน แล้วเป็นกุจหิ่งห้อยออจากตา ให้เมื่อยต้นขาทั้งสอง ข้าง ดุจกระดูกจะแตก ให้ปวดในกระดูก        สันหลัง ให้สะบัดร้อนสะบัดหนาว อาเจียนลมเปล่า กินอาหารไม่ได้
๖.     ลมอัสสาสะปัสสาวะ วาตาแตก จะได้ขาดสูญหามิได้ ถ้าสิ้นลมหายใจแล้วเมื่อใด ก็ตายเมื่อนั้น

ลักษณะธาตุน้ำแตก
๑.     ดีแตก ทำให้คนไข้คลั่งไคล้ไหลหลง ละเมอเพ้อพก นอนสะดุ้งหวาดหวั่น บางทีให้ลงดุจกินยรุ ให้ลงเขียว ลงแดง ลงเหลืองออกมา ทำให้หาสติมิได้
๒.     เสมหะแตก ให้จับสะบัดร้อนสะบัดหนาว เป็นเวลา บางทีให้ลงท้องเป็นเสมหะ เป็นโลหิตเน่า ให้ปวดมวน
๓.     หนองแตก ทำให้ไหลออกมาเนืองๆ ให้กายซูบผอม กินอาหารไม่รู้รส มักเป็นฝีภายใน ๗ ประการ
๔.     โลหิตพิการหรือแตก แพทย์สมมุติว่าไข้กำเดา เพราะโลหิตกำเริบ ถ้าแตกก็เป็นพิษต่างๆ ผุดขึ้น มาภาย นอก แพทย์สมมุติว่าเป็นรากสาด ข้าวไหม้         ใหญ่ ข้าวไหม้น้อย เปลวไฟฟ้า ประกายเพลิง ลำลาบเพลิง ที่เรียกชื่อต่างๆ เพราะโลหิตกระจายแตกซ๋านออกผิวเนื้อ  ส่วนข้างในก็กระทำพิษต่างๆ         บางทีให้อาเจียนเป็นโลหิต บางทีโลหิตแล่นเข้าจับหัวใจ ให้คลั่งเพ้อหาสติมิได้ บ้างก็ว่าสันนิบาตโลหิต เป็นเพื่อโลหิตสมุฎฐาน บางทีให้ชัก         เท้าหงิกมือกำ บางทีให้หนาว ให้ร้อน บางทีให้ขัดปัสสาวะ ให้น้ำ ปัสสาวะ เป็นสีดำ แดง ขาว เหลือง เป็นไปต่างๆ ธาตุถ้าแตกตั้งแต่ ๒-๕ อย่าง         จะแก้ไม่ได้ โดยเร็วพลัน ใน ๒-๓ วัน ถ้าเป้นตั้งแต่ ๑ หรือ ๒ ให้แก้ดูก่อน ที่โลหิตแตกซ่านออกมาถึงผิวเนื้อนั้น ท่านให้ประกอบยา ที่แก้ไข้เหนือ แก้ที่โลหิตทำภายใน ให้โลหิตมาก ท่านให้ประกอบยา ที่แก้ลักปิด มาแก้เถิด
๕.     เหงื่อ ถ้าแตกให้เหงื่อตกหนัก ให้ตัวเย็นขาวซีด ให้สวิงสวาย หากำลังมิได้
๖.     น้ำตา ถ้าแตกหรือพิการ  ให้ตามัว ให้น้ำตาตกหนัก ตาแห้ง ตานั้นเป็นดุจเยื่อผลลำใย
๗.    มันเหลว ถ้าแตก กระจายออกทั่วสรรพางค์กาย ทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง เว้นแต่อุจจาระ ปัสสาวะไม่เหลือง บางทีให้ลงท้อง ให้อาเจียน ดุจเป็นป่วงลง เพราะโทษน้ำเหลือง
๘.    น้ำลาย ถ้าแตก หรือพิการ น้ำลายเหนียว บางทีเป้นเม็ดยอดขึ้นในลิ้นในคอ
๙.     น้ำมูก เมื่อพิการหรือแตก ให้ปวดในสมอง ให้น้ำมูกตก ให้ตามัว ให้ปวดศีรษะ
๑๐.   มันข้น เมื่อพิการหรือแตก ดุจโลหิตเสียก็เหมือนกัน ซึมซาบออกมาทางผิวหนังดุจผดผุดออกมาเป็นดวง บาง ทีแตกเป็นน้ำเหลือง ให้ปวดแสบปวดร้อนยิ่งนัก

๑๑.    ไขข้อ เมื่อพิการหรือแตกก็ดี ไขข้อนี้มีอยู่ในกระดูก จะทำให้เมื่อยในข้อในกระดูก ทุกแห่ง ดุจครากจากกัน ให้ขัดให้ตึงทุกข้อ
๑๒.    มูตร เมื่อพิการหรือแตกนั้น ให้ปัสสาวะวิปลาส คือแดง เหลือง และเป็นนิ่วก็ดี บางทีเป็นดุจน้ำข้าวเช็ด ให้ ขัดเบา ให้เจ็บหัวเหน่า ให้หัวเหน่าฟก เป็นนิ่ว เป้นมุตกิต เป้นสัณฑฆาต กาฬขึ้นในมูตร ให้มูตรพิการ แปรไปต่างๆ

 
                                                     ธาตุดินพิการ

๑.     ผมพิการ   เจ็บในสมอง ผมร่วง
๒.     ขนพิการ  เจ็บทุกขุมขน ทั่วสรรพางค์กาย
๓     เล็บพิการ  ให้ต้นเล็บช้ำ เขียวดำ บางทีให้ฟกบวม เป็นหัวเดือนหัวดาว บางทีให้ขบเล็บช้ำ เป็นหนอง เจ็บปวด ยิ่งนัก
๔     หันพิการ  หักถอนแล้วก็ดี ย่อมเป้นประเพณีสืบกันมา ถ้าเจ็บในไรฟัน ในรากฟัน ในเหงือก ก็ให้แก้ในทางรำมะนาด
๕. หนังพิการ    ให้หนังสากชา ถ้ามด หรือแมลงวันไต่หรือจับ ก็ไม่รู้สึกกาย ให้แสบร้อนยิ่งนัก เรียกว่า กัมมิโทษ คือโทษที่เกิดแก่กรรม  
๖.     เนื้อพิการ  เนื้อ ๕๐๐ ชิ้น ถ้าพิการ ให้เสียวไปทั้งตัว ม้กให้ฟกที่นั้น บวมที่นี่            ให้เป็นพิษ บางทีให้ร้อนดุจไฟ บางทีให้ฟกขึ้นดุจประกายดาษ ประกายเพลิง ๗.     เอ็นพิการ  เส้นประธาน ๑๐ เส้น มีบริวาร ๒,๗๐๐ เส้น ก็หวาดไหวไปสิ้นทั้งนั้น ที่กล้าก็กล้า ที่แข็งก็แข็ง ที่ตั้งดานก็ตั้งดาน ที่ขอดก็ขอดเข้าเป็นก้อนเป็นเถาไป เป็นเหตุแต่จะให้โทษหนัก แต่เส้นอันชื่อว่าสุมนากับเส้น อัมพฤกษ์ นั้น ทำเหตุแต่จะให้ระส่ำระสาย ให้ร้อน ให้เย็น ให้เมื่อย ให้เสียวไปทุกเส้นเอ็นทั่วทั้งตัว ตั้งแต่ที่สุดบาทา ตลอดขึ้นไปถึงศีรษะ ทำให้เจ็บ เป็นเวลา แต่เส้นอัมพฤกษ์ สิ่งเดียวนั้น ให้โทษถึง ๑๑ ประการ ถ้าพร้อมทั้ง ๒,๗๐๐ เส้น แล้วก็ตาย ถ้าเป็น ๒-๓ เส้น ยังแก้ได
๘.     กระดูกพิการ กระดูกทั้งหลายประมาณไว้ ๓๐๐ ท่อน ถ้าพิการโรคนี้จะแก้เป็นอันยากยิ่งนัก
๙.    เยื่อในกระดูกพิการ ( คัมภีร์ไม่บอกอาการ บอกแต่ยาแก้ เหมือนแก้กระดูก)
๑๐.   ม้ามพิการแตก   ให้ม้ามหย่อน
๑๑    วงหฤทัยพิการ   ถ้าพิการหรือแตกก็ดี กระทำให้เป็นคนเสียจริต ถ้ายังอ่อนอยู่ ให้คุ้มดีคุ้มร้าย มักขึ้งโกรธ บางทีให้ระส่ำระสาย ให้หิวหากำลังมิได้
๑๒    ตับพิการ  ถ้าพิการแตกก็ดี เป็นเพราะโทษ ๔ ประการ คือ
        ๑๒.๑   กาฬผุดขึ้นในตับ จึงทำให้ตับหย่อน
        ๑๒.๒   เป็นฝีในตับ ย่อมให้ลงเป็นโลหิตสดๆ ออกมา
        ๑๒.๓  กาฬมูตรผุดขึ้นในตับ กระทำให้ลงเป็นเสมหะโลหิตเน่า ปวดมวนอยู่เสมอ ให้ตาแดง เป็นสาย โลหิต คนทั้งปวงย่อมสมมุติเรียกว่ากระสือ ปีศาจเข้าปลอมกิน เพราะคนไข้ เพ้อหาสติมิได้ เจรจาด้วยผี หมอจะแก้ ยากนัก
        ๑๒.๔  เป็นด้วยปถวีธาตุแตกเอง ให้ระส่ำระสาย ให้หอบไอ อยู่เป็นนิจ จะบริโภคอาหารก็ไม่ได้ หายใจก็ ไม่ถึงท้องน้อย
๑๓.   พังผืดพิการแตก  ให้อกแห้ง กระหายน้ำ คือริดสีดวงแห้งนั่นเอง
๑๔.   พุงพิการแตก  ให้ขัดอก ให้ลงท้อง ท้องขึ้นท้องพอง ให้แน่นในอก ในท้อง บริโภคอาหารไม่ได้
๑๕.   ปอดพิการแตก  เมื่อปอดพิการแตกก็ดี อากาจดุจไข้พิษ คือ กาฬขึ้นในปอด ให้ร้อนอก กระหายน้ำ แล้วหอบ จนโครงลด ให้กินน้ำจนปอดลอยจึงยากยาก บางที่จนอาเจียนน้ำออกมา จึงจะหายอยาก
๑๖.   ไส้ใหญ่พิการแตก  คือกินอาหารผิดสำแดง ให้ปวดท้อง ให้ขัดอก บางทีให้ลง ให้อาเจียน คือ ลมกัมมัชวาต พัดให้เสมหะเป็นดาน กลับเข้าไป ในท้องในทรวงอก แล้วให้ตัดอาหารย่อมว่าไส้ตีบ
๑๗   ไส้น้อยพิการแตก  ให้วิงเวียนหน้าตา จะลุกขึ้นยืนให้หาว ให้เรอ ให้จุกเสียด เจ็บเอว ให้เสมหะขึ้นคอ ให้ร้อนคอ ร้อนท้องน้อย เป้นลม คลื่นเหียน ให้ตกโลหิต ให้ตกหนอง
๑๘.   อาหารใหม่พิการแตก  ถ้าบริโภคอาหารเข้าไปอิ่มแล้วเมื่อใด ก็ทำให้ร้อนท้องนัก บางทีให้สะอึก แล้วให้จุกเสียดตามชายโครง ให้ผะอืดผะอม คนสมมุติว่าไฟธาตุหย่อน แต่ไม่ใช่อาการอย่างนี้ เป็นเพราะบริโภค อาหารที่ไม่เคยบริโภค เช่นอาหารดิบ หรือลมกุจฉิสยาวาตพัดไม่ตลอด ให้เป็นไปต่างๆ บางทีให้ลง บางทีให้เป็น พรรดึก แดกขึ้นแดกลง กินอาหารไม่ได้
๑๙.   อาหารเก่าพิการแตก  อาหารเก่าเมื่อพิการแตก คือซางขโมยกินลำไส้ เมื่อพ้นกำหนดซางแล้ว คือริดสีดวง คุถทวาร
๒๐.   สมองศีรษะพิการแตก  เมื่อสมองพิการหรือแตก ให้เจ็บในศีรษะดังจะแตก ให้ตามืด ให้หูตึง ปากและจมูก เฟดขึ้น ลิ้นกระด้าง เดิมเป้นเพราะสันนิบาตลมปะกัง ถ้ายาใดๆ ก็แก้ไม่หาย