วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

การนวดไทยรักษา ปวดศรีษะ

การปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด นั้นมีการกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์โรคนิทานว่าหากเส้นเอ็นกำเริบจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง เส้นอิทา และเส้นปิงคลาซึ่งอยู่ในเส้นประธานสิบว่าเกี่ยวเนื่องกับการปวดศีรษะเช่นกัน  จากการศึกษาจากสาเหตุและอาการตามศาสตร์แบบโบราณสามารถแบ่งกลุ่มอาการปวดศีรษะได้ดังนี้

1. ปวดศีรษะจากเส้นเอ็นกำเริบ
2. ปวดศีรษะจากเส้นอิทากำเริบ (จะมีอาการตามืดมัว และชักร่วมด้วย) คล้ายอาการปวดไมเกรน
3. ปวดศีรษะจากเส้นปิงคลากำเริบ (จะมีอาการ ตาแดง ปวดเบ้าตา คัดจมูก น้ำมูกไหลร่วมด้วย) คล้ายอาการปวดแบบ คลัสเตอร์
4. ปวดศีรษะจากลมปะกัง เนื่องจากเส้นอิทา ปิงคลากระทำพิษ ร่วมกับ กำเดา (จะมีอาการชัก ปากเอียงร่วมด้วย) ซึ่งอาการเป็นอาการปวดที่รุนแรงระยะท้ายๆของการปวดจากเส้นอิทา ปิงคลา
5. ปวดศีรษะจากสมอง ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาภายในกะโหลกศีรษะ เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งแผนโบราณเรียกว่า สมองฟู สมองเฟื่อง ซึ่งน่าจะหมายถึงสมองบวมนั่นเอง
6. ปวดศีรษะตามฤดูกาลทั้ง 3 (ร้อน ฝน หนาว) ซึ่งมีลักษณะไม่แน่นอน แต่มีอาการปวดล้ายกับการปวดศีรษะจากเมตาบอลิซึม เกิดจากการกินอาหารหรือสารพิษเป็นต้น อาจหมายความถึงการปวดศีรษะจากความเครียดไว้ในกลุ่มนี้ด้วย

3 ความคิดเห็น:

  1. วิธีการนวดแก้อาการปวดศีรษะจากความเครียด
    1. นวดพื้นฐานบ่าและจุดฐานคอ
    2. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหลัง
    3. กดเน้นจุดฐานกะโหลกด้านหลัง 3 จุด
    4. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหน้า
    5. กดเน้นจุดใต้หัวคิ้วกดรีดไปตามใต้หัวคิ้วถึงหางคิ้ว คลึงขมับ
    6. นวดพื้นฐานหลัง

    ตอบลบ
  2. วิธีการนวดแก้อาการปวดศีรษะจากเส้นอิทา (ไมเกรน)
    1. นวดพื้นฐานบ่า เน้นจุดฐานคอ
    2. นวดศีรษะด้านหลังข้างซ้าย เน้นบริเวณขมับข้างซ้าย
    3. นวดศีรษะด้านหลังข้างขวา เน้นบริเวณขมับข้างขวา
    4. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหน้า
    5. กดเน้นจุดใต้หัวคิ้วกดรีดไปตามใต้หัวคิ้วถึงหางคิ้ว คลึงขมับข้างซ้าย
    6. นวดศีรษะด้านหลังข้างซ้าย เน้นบริเวณขมับข้างซ้าย

    ตอบลบ
  3. วิธีการนวดแก้อาการปวดศีรษะจากเส้นปิงคลา
    1. นวดพื้นฐานบ่า เน้นจุดฐานคอ
    2. นวดศีรษะด้านหลังข้างขวา เน้นบริเวณขมับข้างขวา
    3. นวดศีรษะด้านหลังข้างซ้าย เน้นบริเวณขมับข้างซ้าย
    4. นวดศีรษะด้านหลังข้างขวา เน้นบริเวณขมับข้างขวาอีกครั้ง
    5. นวดพื้นฐานศีรษะด้านหน้า เพิ่มจุดขอบคาง ใต้ริมผีปาก และจุดรอบโคนจมูก(รอบโพรงไซนัส)
    6. นวดจุดเหนือใบหู คลึงขมับ

    ตอบลบ