วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

ตรีธาตุ

ตรีธาตุอันได้แก่ ปิตตะ วาตะ เสมหะ มี 2 ลักษณะคือลักษณะหยาบ และลักษณะละเอียด ดังนี้
1. ตรีธาตุในลักษณะหยาบ  ชี้ให้เห็นชัดได้คืออวัยวะทางเดินอาหารเป็นสำคัญ (Alimentary canal) โบราณเรียกว่า “มหาโศรต”
นับแต่ปากไปถึงทวารหนักแบ่งเป็น 3 ภาคคือ ภาคบนคือปากเป็นที่ตั้งของเสมหะ ภาคกลางคือตอนต้นลำไส้ เป็นปิตตะสถานะ
ภาคปลายคือลำไส้เล็กเป็นวาตะสถานะ  เมื่อเรากินอาหารทั้ง  6 รสเข้าไปก็จะถูกตรีธาตุย่อยตามภาคต่างๆแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
 สามารถเทียบเคียงแผนปัจจุบันได้คือ เมื่ออาหารเคี้ยวในปากและลงไปในกระเพาะอาหาร ตอนนี้เสมหะสถานะจะทำการย่อยแป้งเป็นน้ำตาล
เมื่ออาหารมาถึงกลางท้องคือกระเพาะผลิตกรดไฮโดรคลอริกและน้ำย่อยอาหารประเภทโปรตีน และลำไส้เล็กจะถูกน้ำดีในส่วนของปิตตะ
สถานะย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมัน (Fatty acids) เมื่ออาหารเคลื่อนไปถึงลำไส้ส่วนปลาย ถูกวาตะในวาตะสถานะ ย่อย แล้วดูดซึมเลี้ยงร่างกายทั่วไป
เปลี่ยนเป็นสภาพวาโยหมายถึงวาตะที่เห็นไม่ได้
 2. ตรีธาตุในลักษณะละเอียด เป็นสิ่งที่ละเอียดมากแปรสภาพผิดไปจากธาตุแบบหยาบ ยกตัวอย่างเช่นน้ำปกติเป็นของเหลว ถูกความเย็นจัด
กลายเป็นน้ำแข็ง เมื่อถูกความร้อนก็กลายเป็นไอ มององไม่เห็น เย็นมากก็กลายเป็นน้ำอีก กระบวนการนี้ไม่อาจมองเห็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
 แต่รู้ว่ามันมีอยู่จริง  วาตะเปรียบเสมือนกระแสประสาท ซึ่งมองไม่เห็นแต่ก็รู้ว่ามีอยู่จริง ปิตตะก็เปรียบเหมือนความร้อน มองไม่เห็นแต่ก็รู้ว่ามีอยู่จริง
 เสมหะก็เปรียบเสมือนความเย็น และสิ่งที่แทรกซึมคอยหล่อลื่นระบบต่างๆของร่างกายไม่ให้ฝืดเคือง
ไม่ว่าโรคใด ๆ ก็ตาม แม้แต่แผนปัจุบันที่มีการค้นคว้ามาใหม่ แผนโบราณเข้ามาจัดอยู่ในตรีธาตุหรือตรีโทษทั้งหมด ไม่ว่าโรคใดๆก็ตามก็จะหนีไม้พ้น 3
สิ่งนี้คือ  วาตะ ปิตตะ และเสมหะ

1 ความคิดเห็น:

  1. วาตะ ปิตตะ เสมหะ เกิดจากอาหารต่างๆ นับตั้งแต่เลือดของมารดาตั้งแต่อยู่ในท้อง เมื่อเด็กก็กินนมแม่ พอโตก็ได้จากอาหารอื่นๆ ตลอดชีวิต
    อาหารทั้งหลายมี 6 รสเกิดจากการรวมธาตุดิน น้ำ ลมไฟ และอากาศธาตุแตกต่างกันออกไป อาหารรสต่างๆเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายทำให้เกลายสภาพเป็น
    ปิตตะ วาตะ เสมหะ ดังนั้นอาการเจ็บป่วยของร่างกายจึงสามารถอธิบายด้วยหลัก ปิตตะ วาตะ เสมหะ ว่ากำเริบ หย่อน หรือพิการ
    ในทางกลับกันเมื่อร่างกายเกิดความผิดปกติ วิธีการแก้ไขก็คือการใช้อาหารทีมีรสต่างๆมารักษา การใช้ยาสมุนไพรของคนโบราณจึงคำนึงถึงเรื่องรสชาติ
    ของสมุนไพรเป็นสิ่งสำคัญ เราเรียกหลักการนี้คือ "หลักฉัฐรส"

    ตอบลบ